จังหวัดสุรินทร์ ประชุมความเความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัดสุรินทร์ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 จึงได้กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อเตรียมความ พร้อมหาก ศบค. กำหนดให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านเชื้อโรค ด้านคน และด้านสิ่งแวดล้อมจำนวนรวม 13 ตัวซี้วัด และจังหวัดสุรินทร์ได้ ดำเนินการขับเคลื่อน กำกับ ติดตาม โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด ทำให้เชื่อมั่นว่าจังหวัดมีความพร้อมสามารถอยู่ร่วมกับ โควิด-19 ตามวิถีใหม่แบบ New Normal ได้อย่างปลอดภัย
วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ที่ห้องประชุมชั้น 4 ศลากลางจังหวัดสุรินทร์ นายสุวพงศ์ กิตติภัทรย์พิบูบย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อม ด้วย นายเสริมศีกดิ์ สีสันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์, นายอดิเทพ กมลเวชช์ รองผู้ว่าราการจังหวัดสุรินทร์, นายแพทย์สินชัย ตันติรัตนานนท์ สารณสุขจังหวัดสุรินทร์, และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสุรินทร์ นายอำเภอทั้ง 17 อำเภอมาร่วมประชุม เพื่อประกาศความพร้อม หาก ศคบ. กำหนดให้ “โควิค-19” เป็น “โรคประจำถิ่น ทั้งนี้ สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ข้อมูล ณ วันที่ 26 เมษายน 2565 มีผู้ติด เชื้อสะสมจำนวน 26,026 ราย อยู่ระหว่างการรักษาจำนวน 2,770 ราย ที่ ผ่านมา จังหวัดสุรินทร์สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ ได้เพิ่มพื้นที่ ปลอดภัยในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ตามโครงการ “หมู่บ้านสีฟ้า” หรือหมู่บ้านที่ “ไม่มี โควิด-19 “ คือ ภายในหมู่บ้านผู้ติดเชื้อจะได้รับการแยกกักกันตัว หรือรักษาตัวจากชุมชน ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ จังหวัดสุรินทร์มี 2,128 หมู่บ้าน เป็น “หมู่บ้านสีฟ้า” ทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2564 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน และดำเนินการตามมาตรการ COVID Free Setting หรือ 3 P อย่างเข็มข้นและต่อเนื่อง ทำให้ 2 อำเภอในจังหวัดสุรินทร์ คือ อำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอท่าตูม ได้รับการประกาศ ศบค.ให้เป็นพื้นที่ นำร่องด้าน การท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันพบว่า ผู้ติดเชื้อมีอาการไม่รุนแรง ซึ่งเป็นผลจาก การได้รับวัคซีนที่ครอบคลุม มีอัตราการเสียชีวิตน้อย และอัตราการครองเตียงของผู้ป่วยหนัก อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยทรัพยากรทางสาธารณสุขที่มี ปริมาณการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด รวมถึงระบบการควบคุมโรคที่เป็นระบบ การให้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ
จังหวัดสุรินทร์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสุรินทร์ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 จึงได้กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อเตรียมความ พร้อมหาก ศบค. กำหนดให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านเชื้อโรค ด้านคน และด้านสิ่งแวดล้อมจำนวนรวม 13 ตัวซี้วัด และจังหวัดสุรินทร์ได้ ดำเนินการขับเคลื่อน กำกับ ติดตาม โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด ทำให้เชื่อมั่นว่าจังหวัดมีความพร้อมสามารถอยู่ร่วมกับ โควิด-19 ตามวิถีใหม่แบบ New Normal ได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นจังหวัดสุรินทร์โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสุรินทร์ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565 จึงขอประกาศความพร้อม หาก ศบค. กำหนดให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ทั้งนี้ตั้งแต่ วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป
นายสุวพงศ์ กิตติภัทรย์พิบูบย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ บอกถึงการมาประชุมในครั้งนี้ว่า จังหวัดสุรินทร์ ได้เตรียมความพร้อมรองรับ “โควิค-19 ให้เป็นโรคประจำถิ่น โดยทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาประชุมสรุปประเด็นการเตรียมการที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้นานแล้วว่าจะประกาศให้จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดนำร่องให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นจังหวัดแรกของประเทศไทยแต่ว่าด้วยจำนวนของสถานการณ์ในช่วงสงกรานต์ก็เลยเลื่อนเวลากันไป เพื่อประเมินตัวเลขในเชิงสถิติให้มาเป็นตัวประกอบของหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
โดยในวันนี้ทางคณะกรรมการโรคติดต่อทุกองค์การได้รวบรวมข้อมูลสถิติตามหลักเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ได้ตั้งเป้ากันไว้ออกมาพิจารณาร่วมกัน เมื่อพิจารณาแล้วหลักเกณฑ์ต่าง ๆอยู่ภายใต้ตัวเลขที่สามารถรองรับและสามารถแสดงความพร้อมได้ วันนี้จึงมาแจ้งทางสื่อมวลชนและประชาชนชาวสุรินทร์ทั้งหลายว่าทางจังหวัดสุรินทร์มีความพร้อมแล้วที่จะให้โรคโควิดเป็นเสมือนโรคไข้หวัดธรรมดาในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อให้คนสุรินทร์ได้มีวิถีชีวิตอย่างปกติและก็ขับเคลื่อนเศรษกิจโดยลำดับแรกต้องเปิดด่านชายแดนให้ได้ ต่อไปก็จะพยายามขับเคลื่อนระบบเศรษกิจในจังหวัดให้มีการเคลื่อนที่และก็หมุนเวียนกันให้มากที่สุด โดยวันนี้ส่งหนังสือที่เตรียมไว้ส่งให้ทาง ศคบ.และกระทรวงฯต่อไป
ภาพ/ข่าว: เขมชาติ ชุณหกิจขจร / รมิตา สิงหเสรี ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์