ม.ราชภัฏศรีสะเกษ แสดงผลงานนวัตกรรมแก้จนคนศรีสะเกษ

ม.ราชภัฏศรีสะเกษ แสดงผลงานนวัตกรรมแก้จนคนศรีสะเกษ ร่วมลงนามความร่วมมือการใช้ฐานข้อมูล Big Data เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวเวลา 14.00 น. วันที่ 29 พ.ค. 65 ที่โรงแรมศรีลำดวน อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ นายวัฒนา  พุฒิชาติ ผวจ.ศรีสะเกษ  เป็นประธานเปิดแสดงผลงานนวัตกรรมแก้จน คนศรีสะเกษ และลงนามความร่วมมือการใช้ฐานข้อมูล Big Data ระหว่าง ม.ราชภัฏศรีสะเกษ กับ อบต.15 แห่ง ในพื้นที่ อ.เมืองศรีสะเกษ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหัสา พลนิล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  นายบุญเยี่ยม เหลาสะอาด รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม  ผู้แทนผู้สนับสนุนทุนวิจัย จากหน่วยบริหารและจัดการด้านการพัฒนาระดับพื้นที่   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 15 แห่ง ลงนามความร่วมมืออย่างพร้อมเพรียง โดยบันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่ วันที่ 30 พ.ค. พ.ศ. 2565 สิ้นสุดวันที่ 30 พ.ค. พ.ศ. 2568  มีการแสดงผลงานนวัตกรรมแก้จนคนศรีสะเกษ

รองศาสตราจารย์ ดร. ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ตระหนักถึงบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น หนึ่งในพันธกิจที่สำคัญคือการวิจัยและสร้างนวัตกรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ส่งเสริม สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษ และวาระการขับเคลื่อนจังหวัดศรีสะเกษ บนเส้นทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน (10 agenda)  ในปีงบประมาณ 2563 – 2565 และมหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเรื่อง “การวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีจังหวัดศรีสะเกษ” จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

และได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้รับความร่วมมือจาก ทุกหน่วยงานในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ท้องถิ่นจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักงานสาธารณสุข สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานชลประธาน องค์การบริหารส่วนตำบล 15 แห่งในพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีความสอดคล้องกับวาระจังหวัด ในด้านผู้ด้อยโอกาส  ในปีงบประมาณ 2564  ปีที่ 2 ของการทำวิจัย มีพื้นที่เป้าหมายการวิจัย คือตำบลต่างๆ อำเภอเมืองศรีสะเกษ รวม 15 ตำบล ในการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนให้เป็นโมเดลแก้จน (OM)  มีการดำเนินการใน 4 โครงการ ได้แก่ การปลูกและแปรรูปผักกะแยง ผักพื้นถิ่น มีกลิ่นเฉพาะตัว เป็นเครื่องปรุงอาหารอัตลักษณ์ของคนอีสาน  การเลี้ยงและการแปรรูปจิ้งหรีดผง สัตว์เศรษฐกิจ แหล่งโปรตีนที่สำคัญ เลี้ยงง่าย โตเร็ว และผ้าทอศรีลำดวน : ทุนทางวัฒนธรรมบนความเหลื่อมล้ำของครัวเรือนคนจน ลายดอกลำดวน ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ และแนวทางการจัดตั้งกองทุนน้ำยั่งยืน เพื่อสวัสดิการครัวเรือนคนจน ตำบลนำร่อง เพื่อยกระดับรายได้ของกลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงผลงานการวิจัยผลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยออกสู่สาธารณะและแสดงศักยภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนของพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ  เพื่อนำเสนอ  WaTTANA  Model  แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับตำบลในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการการแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อร่วมพัฒนาและร่วมใช้งานระบบฐานข้อมูล Big Data มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  เพื่อร่วมจัดเก็บ บันทึกข้อมูล ส่งต่อความช่วยเหลือ กลุ่มคนจน กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ให้เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคงและสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป

ณัฐธรชนม์  สิริโชติสกุล / ศรีสะเกษ


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า