ผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดโครงการ “การปรับปรุงระบบการผลิตโคเนื้อ”

ม.แม่โจ้ ร่วมกับสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษจัดโครงการ “การปรับปรุงระบบการผลิตโคเนื้อ” ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์และองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีอาหารสัตว์ เพื่อเพิ่มอัตราการตั้งท้องของแม่โค

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคเนื้อยั่งยืนศรีสะเกษ บ้านกู่ หมู่ 1 ต.กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.ศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “การปรับปรุงระบบการผลิตโคเนื้อ” ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์และองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีอาหารสัตว์ เพื่อเพิ่มอัตราการตั้งท้องของแม่โค โดยมี  ผศ.ดร.วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์ รองคณะบดีฝ่ายวิจัย คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ม.แม่โจ้ และคณะบรรยาย เรื่อง แนวทางขับเคลื่อน “การปรับปรุงระบบการผลิตโคเนื้อของสมาชิกเครือข่ายสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยการเสริมฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน เพื่อเพิ่มอัตราการตั้งท้องของแม่โค” น.ส.พิชามญชุ์ แซ่จึง หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ให้การต้อนรับและกล่าวรายงาน

ผศ.ดร.วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์ รองคณะบดีฝ่ายวิจัย คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ม.แม่โจ้ เปิดเผยว่า ปัจจุบันทีมวิจัยเราสามารถผลิตน้ำเชื้อโคนมโคเนื้อแยกเพศได้ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ แม่วัวมีลูกเกิดมากว่า 1,000 ตัวแล้ว ตอนนี้ นวัตกรรมการแยกเพศได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้รับการรับรองโดยกระทรวงการคลังว่าเป็นสินค้านวัตกรรมเกิดขึ้น ปัจจุบันเราทำการวิจัยเรื่องนี้มาเป็นปีที่ 18 แล้ว ผ่านการบ่มเพาะจากทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ จนมาถึงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) การวิจัยสำหรับชาวบ้าน เนื่องจากคนไทยเราทำเอง ราคาจึงถูกลงมาก ต้นทุนการผลิตน้ำเชื้อแยกเพศของเราตอนนี้ ถ้าถึงมือเกษตรกรไม่เกิน 1,000 บาท ถ้าเปรียบเทียบที่ส่งมาจากต่างประเทศนำเข้ามาราคาอยู่ที่ 4-5 พันบาท ซึ่งจะแตกต่างกันมาก

รองคณะบดีฝ่ายวิจัย คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ม.แม่โจ้ กล่าวอีกว่า ถ้าพูดถึงกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อยั่งยืนจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็งมาก เรามองจะเห็นว่าสมาชิกเขาจะช่วยกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน แล้วทางวิจัยของเราเข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรในเรื่องของการพัฒนาในพื้นที่พัฒนาแกนนำเขา และนำเทคโนโลยีมาให้ คือการเหนี่ยวนำให้แม่โคเป็นสัดพร้อมกัน คือ ในกลุ่มมีแม่โคกี่ตัวก็ให้เป็นสัดพร้อมกันในวันเดียวกันได้  แล้วผสมเทียวในชุดเดียวกันเป็นการผลิตลูกเป็นล็อต ซึ่งเบื้องต้นต้องพัฒนาคนก่อน คือให้ความรู้แก่เกษตรกรและแกนนำ จากนั้นก็พัฒนางานแล้วสร้างคนขึ้นมาทำงานเอง ผศ.ดร.วิวัฒน์ กล่าว

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ต้องขอชื่นชมเกษตรกรที่สามารถรวมกลุ่มกันได้ และมีความเข้มแข็ง มีการศึกษาเรียนรู้ เข้ารับการฝึกอบรม ไม่ทำการเกษตรแบบสมัยโบราณ คือทำแบบปล่อยไปตามยถากรรม ต้องลบภาพเดิมๆ ไป การพัฒนาการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อโคนม เกษตรกรก็ต้องเรียนรู้ในการนำเทคโนโลยี และนำทางวิชาการเข้ามาช่วยในการ การอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในวันนี้ ก็เป็นการนำเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วย เริ่มต้นตั้งแต่การผสมพันธุ์แม่โคให้มีความแม่นยำมากขึ้น

น.ส.พิชามญชุ์ แซ่จึง กล่าวว่า สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับทราบปัญหาจากเกษตรกรเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อยั่งยืนจังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่งมีสมาชิกเป็นกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่ และอำเภอขุขันธ์ มีสมาชิกเครือข่ายฯ จำนวน 310 ราย ประสบปัญหาการเลี้ยงโคเนื้อ เนื่องจากโคที่เกษตรกรเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่มีโครงสร้างเล็ก ขาดโคเนื้อพันธุ์ดี ทำให้เกษตรกรขายโคเนื้อได้ าคาต่ำ และขาดองค์ความรู้เรื่องการจัดการแม่โคเพื่อเพิ่มอัตราการตั้งท้อง การจับสัด การผสมเทียม การให้อาหารที่เหมาะสมแก่โค ทำให้ ไม่สามารถผลิตลูกโคได้ทุกปี สำนักงานสภาเกษตรกร จ.ศรีสะเกษ จึงได้ประสานขอความร่วมมือกับคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเครือข่ายฯ ซึ่งทางคณะฯ วิจัย ก็ได้ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ เสนอโครงการ การปรับปรุงระบบการผลิตโคเนื้อ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์และองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มอัตราการตั้งท้องของแม่โคดังกล่าว.

ณัฐธรชนม์  สิริโชติสกุล / ศรีสะเกษ


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า