สำรวจกองหินแหล่งดำน้ำใกล้ชายฝั่งอันดามันดันท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มี.ค.65 ที่ โรงแรมเขาหลัก เอมเมอรัลด์ บีช รีสอร์ท ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา นายพจน์ หรูวรนันท์ ปลัดจังหวัดพังงา พร้อมด้วย รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหงคณะวิทยาศาสตร์ ททท.พังงา ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ร่วมจัดนิทรรศการตามโครงการ “การพัฒนาแหล่งดำน้ำลึกใหม่เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบริเวณทะเล อันดามันตอนบน” ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรกองหินใต้นำแนวทางการจัดการขีดความสามารถการรองรับ ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ การท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และจัดทำแผนพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งดำน้ำลึกเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่เกินขีดความสามารถการรองรับระบบนิเวศ มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้การท่องเที่ยววิถีใหม่ เพื่อเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบริเวณกองหินใต้น้ำ นำไปสู่การสร้างโอกาสสร้างรายได้

โดยนายเลิศศักดิ์ ปนกลิ่น รองประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา กล่าวว่า โครงการสำรวจกองหินใต้ทะเลฝั่งอันดามันเพื่อหนุนการท่องเที่ยวทำให้นักท่องเที่ยวมีแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลเพิ่มขึ้นภายใต้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กับ ท่องเที่ยวในยุคโควิด19 เพิ่มรายได้ให้ชุมชนเนื่องจากกองหินอยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งเรือหางยาวในพื้นที่ชุุมชนสามารถนำนักท่องเที่ยวลงดำน้ำได้เป็นรายได้ให้แก่ชุมชน

ด้าน รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย เข้าสำรวจกองหินที่มีความสมบูรณ์ มีสัตว์น้ำหลากหลาย เป็นที่ชื่นชอบแก่นักดำน้ำและนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกองหินในพื้นที่พังงา มีแหล่งดำน้ำตื้นที่สวยงาม ไม่ห่างไกลจากชายฝั่ง ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจึงมีน้อย ซึ่งผู้ชื่นชอบดำน้ำสามารถลงดำน้ำได้โดยต้องมีทักษะการดำน้ำและการเรียนรู้ในการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดหรือไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม การดำน้ำยังเป็นการลดความหนาแน่นของนักท่องเที่ยวที่เข้าเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวบนบก มีทัศนียภาพเสมือนสวรรค์ของนักท่องเที่ยว


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า