บก.คฟป.ทภ.3 สน. สรุปคุณภาพอากาศห้วงสัปดาห์ เกิดจุดความร้อนสะสมในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 1,224 จุด เมื่อ เมื่อเทียบปี 64 ( 50,692 ) ลดลง 33,985 จุด คิดเป็น 67.04 %
วันที่ 14 มี.ค.65 พล.ต.ประสิษฐิพงศ์ มูลดี รองผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 เปิดเผยว่า ภายหลังกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ( บก.คฟป.ทภ.3 สน. ) ตรวจสอบสภาพอากาศในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ห้วงวันที่ 7 – 13 มี.ค. 65 พบว่า ภาคเหนือ มีค่าPM 2.5 เฉลี่ยอยู่ระหว่าง ระหว่าง 26 – 69 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, ค่า PM 10 ระหว่าง 38 – 79 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ ค่า AQI อยู่ระหว่าง 34 – 142 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์ โดยมีค่าเฉลี่ยมากสุด ที่ ต.จองคำ อ.เมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งผลให้ค่าคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบกับประชาชน
สำหรับจุดความร้อนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ (ดาวเทียมระบบ VIIRS) ห้วงวันที่ 7 – 13 มี.ค. 65 เกิดจุดความร้อนสะสมจำนวน 1,224 จุด โดยเฉพาะในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ และจังหวัดพิจิตร ส่วนใหญ่เกิดจุดความร้อนในพื้นที่ป่าสงวน จำนวน 426 จุด, พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 410 จุด ,พื้นที่เกษตร 249 จุด และพื้นที่เขต สปก. 86 จุด
อย่างไรก็ตาม ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา กอ.รมน.จังหวัด 17 จังหวัด ได้ลงพื้นที่ ลาดตระเวนร่วมกับหน่วยงานเพื่อป้องปรามการเผาป่า ทำแนวกันไฟและร่วมดับไฟ จำนวน 476 ครั้ง ส่วนชุดปฏิบัติการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ลงพื้นที่รณรงค์สร้างจิตสำนึกลดการเผาในชุมชน พร้อมร่วมสร้างฝายในพื้นที่ป่าเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้ป่าต้นน้ำ จำนวน 29 ครั้ง
ทั้งนี้ ภาพรวมค่าคุณภาพอากาศ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.64 – 13 มี.ค.65 เกิดจุดความร้อนสะสมในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 16,707 จุด เมื่อเทียบปี 64 (50,692) ลดลง 33,985 จุด คิดเป็น 67.04 %
อย่างไรก็ตามภาคเหนือโดยรวมคงมีความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ส่วนในช่วงวันที่ 16-23 มี.ค. 65 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ที่เข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางจะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนและร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางพื้นที่ รวมทั้งอาจจะมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมทั้งฟ้าผ่าที่จะเกิดขึ้น ขอให้ทุกหน่วยยังต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในระยะนี้