ผลสำเร็จของความร่วมมือจนเป็นศูนย์เรียนรู้พุทธเกษตร “โคกหนองนาบ้านหนองอีดำ” อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จากผืนที่ดินแห้งแล้ง สู่ศูนย์เรียนรู้แบบครบวงจร เพื่อเป็นโรงเรียนแก้จนให้กับชาวบ้านเกษตรกร
จากที่ดินผืนเปล่า จำนวน 8 ไร่ สู่ “ศูนย์เรียนรู้พุทธเกษตร” เพื่อน้อมนำ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” สู่โคกหนองนา บ้านหนองอีดำ ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นอีกหนึ่งของภาพความก้าวหน้าและความสำเร็จ จากความร่วมมือกันอย่างแท้จริงระหว่างชุมชน คน อุปถัมภ์ขับเคลื่อนโดยพระภิกษุสงฆ์ โดยพระเดชพระคุณ ดร.หลวงพ่อพระครูพิศิษฏ์ประชานาถ หรือ “หลวงพ่อแดง นันทิโย” องค์ประธานมูลนิธิวัดอินทาราม รองเจ้าคณะอำเภออัมพวา เจ้าอาวาสวัดอินทาราม จังหวัดสมุทรสงคราม หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ธนาคารวัวหลวงพ่อแดง” ซึ่งได้มาก่อตั้งแปลงนาอินทรีย์บนพื้นที่เปล่าแห่งนี้ เมื่อปี 2563 และให้ชาวบ้านร่วมกันปรับพื้นที่ขุดธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ “โคกหนองนา” มีวิสาหกิจในพื้นที่ 4 อำเภอรอบๆ ประกอบด้วย อำเภอท่าตูม อำเภอจอมพระ อำเภอชุมพลบุรี และ อำเภอศีขรภูมิ ร่วมหมุนเวียนเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ให้สมบูรณ์มากขึ้นไปเรื่อยๆ
ทั้งนี้ปัจจุบัน มีกลุ่มชาวบ้านรวมตัวกันตั้ง “วิสากิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดง” เข้ามาเรียนรู้วิธีปลดหนี้ และสังกัดเป็นสมาชิกโรงเรียนสอนชาวนาสู้กับความจน ได้เอาแนวคิดของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน มาลงพื้นที่ โดยยึดหลักการแก้ปัญหาของคนชนบท มาเป็นโจทย์ในการพัฒนา พบว่า ส่วนใหญ่มีหนี้จากการทำนา ลงทุนสูง โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยเคมี และแรงงานส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปรับจ้างเพื่อยังชีพ ทิ้งเรือกสวนไร่นา ช่วงเวลาการทำนา และฤดูกาลที่ต้องพึ่งพิงปริมาณน้ำฝน นอกจากนี้ยังพบว่าไม่ได้เลี้ยงวัวควายในบ้าน จึงทำให้ใช้ปุ๋ยเคมีแทน โดยพระเดชพระคุณ “หลวงพ่อแดง” ได้ส่ง “วัว” มาประจำที่คอกอภัยทาน มีพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ “วัว” มาไว้ให้ขยายพันธุ์ แจกจ่ายมาแล้วประมาณ 700 กว่าตัว และยังคงออกลูกเป็นผลผลิตให้กับชาวบ้าน เป็นผลพลอยได้ต่อยอดการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นอีกด้วยอีกทางหนึ่ง
นายสุริยา เครือจันทร์ ประธานวิสาหกิจชุมชน “ธนาคารวัวหลวงพ่อแดง” สาขาบ้านหนองอีดำ กล่าวว่า การพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันเปลี่ยนไปค่อนข้างเยอะ โดยสมาชิกเพิ่มจำนวนมากขึ้น คุณภาพวิถีชีวิตดีมากขึ้น การใช้จ่ายลดลง เนื่องจากสมาชิกมีการแปรรูปสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวสารที่แปรรูปด้วยตนเองพร้อมกับนำออกไปจำหน่ายสร้างรายได้ที่ดีกว่า การนำกลุ่มวิสาหกิจเข้ามาร่วมกันพัฒนาสวนเรียนรู้โคกหนองนาแห่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากกับวิถีชีวิตของชาวบ้านให้มีรายได้ลดรายจ่ายได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
รองศาสตรจารย์ ดร.วาสนา แก้วหล้า อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ซึ่งเป็นนักพัฒนาและบริการท้องถิ่นตามภารกิจรับใช้สังคม ของบุคลาการในสถาบันอุดมศึกษา ที่ทำงานเน้นการส่งเสริมพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะก็คือมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ จำนวน 40 แห่ง ในการขับเคลื่อนร่วมกับชุมชนการพลิกปัญหามาแก้ไข จึงจับเอาเรื่องการมีวัวบ้านล่ะ 2 ตัวมาเติมให้แต่ล่ะครัวเรือน ตอนนี้มีชาวบ้านกว่า 32 หมู่บ้านของจังหวัดสุรินทร์มารับวัวไปเลี้ยง และมาลงมือเรียนในศูนย์การเรียนรู้แนวพุทธเกษตร เน้นการทำกิจกรรมพึ่งตนเอง ลดจสุรินทร์ – รายงานพิเศษโคกหนองนาสู่ศูนย์เรียนรู้ “พุทธเกษตรโรงเรียนแก้จนชาวนา”
ปัญหาโลกร้อน ลดต้นทุนการเพาะปลูก ทำนาปี นาปรัง ใช้ปุ๋ยคอกผสมกับแหนแดงไมโครฟิลล่า วิชาที่เรียนด้วยการลงมือทำ ได้แก่ การขุดธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด การเลี้ยงปลากินพืช การเลี้ยงหอยนา หอยปัง หอยขม หอยเชอรี่สีทอง การปลูกพืชอาหาร ผักสวนครัว ผักป่า เห็ดโคน การเลี้ยงไก่ไข่เก็บไข่ขาย วิชาการช่าง วิชาการทำก้อนปุ๋ยและปุ๋ยหมัก การปลูกดอกดาวเรืองส่งจำหน่าย และโรงสีข้าวเพื่อชาวนาสีข้าวเปลือกขายเอง ในระบบออนไลน์ การชื้อสินค้าและการออมเงินระบบถือหุ้นสหกรณ์
รศ ดร วาสนา แก้วหล้า กล่าวว่า ในทัศนะการรับใช้สังคมโดยมาช่วยชาวบ้าน มีหลวงพ่อแดง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น กับบทบาทของงานสงฆ์สาธารณะสงเคราะห์ เห็นว่าความร่วมมือของการพัฒนาในรูปแบบ บวร หรือ บ้าน วัด ราชการ ในที่นี่สามารถระดมพลังทุกภาคส่วนมาร่วมกันพัฒนาสังคม ที่สวนเรียนรู้แห่งนี้นี่จึงเป็นต้นแบบได้ จึงอยากเชิญชวนกลุ่มองค์กร เกษตรกร วิสาหกิจชุมชนต่างๆ นักเรียน นักศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้เยี่ยมศึกษาเรียนรู้พุทธเกษตรบ้านหนองอีดำแห่งนี้ เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันแบบเกษตรพอเพียงทฤษฎีใหม่ให้ได้อยู่กับธรรมชาติของเกษตรแบบยั่งยืนและพอเพียง
นายสุริยา เครือจันทร์ ประธานวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดง สาขาบ้านหนองอีดำ บอ กว่า มีสมาชิกที่ได้เข้าร่วม เลียงวัว สมันก่อนไม่ค่อยได้มีผลกำไร หลังจากที่ได้เข้ามาทำไร่นาผสมผสาน ได้ประสบผลสำเร็จ เพื่มผลผลิตให้มีรายได้ให้ครอบครัว
รศ.ดร.วาสนา แก้วหล้า อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ บอกว่าศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ ทุกคนต้องขยัน อดทน ลงมือทำ ให้ความรู้ในการพัฒนาตนเองจนประสบผลสำเร็จ ที่สร้างรายได้ให้สมาชิกได้เลี้ยงครอบครัว จึงขอให้เกษตรกรทุกท่านมาเที่ยวเยี่ยมชม พร้อมให้คำแนะนำกับเกษตรกร.
ภาพ/ข่าว: เขมชาติ ชุณหกิจขจร/รมิตา สิงหเสรี