สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยนำคณะสื่อมวลชนสัญจร เยี่ยมชมงานหัตถกรรมผ้าจกไท-ยวน ครูสุพัตรา ชูชม ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2562 ที่ศูนย์ผ้าทอไทยวน ผ้าซิ่นตีนเก็บ (จก) ไทยวน หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน สระบุรี จ.สระบุรี
นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า sacit หรือสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) มีภารกิจหนึ่งในด้านการสืบสาน ส่งเสริมคุณค่า ยกย่อง เชิดชู รักษา พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย รวมถึงพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการศิลปหัตถกรรมไทยให้มีความรู้ ความสามารถเกิดการอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สั่งสมสืบทอดจากบรรพบุรุษ สะท้อนถึงศาสตร์และศิลป์เชิงช่างในสาขาต่างๆ ให้ดำรงคงอยู่โดยไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา รวมทั้งส่งต่อองค์ความรู้สู่คนรุ่นหลังให้ได้เห็นคุณค่า ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์ สืบสาน เกิดการนำภูมิปัญญาดั้งเดิมที่อยู่ในตัวบุคคลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ ในการส่งต่อให้ถึงผู้ที่อยู่ในวงการงานศิลปหัตถกรรมไทย เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้งานศิลปหัตถกรรมไทยมีความร่วมสมัยต่อไป
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา sacit ให้ความสำคัญกับผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยเป็นอย่างมากเพราะเป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าเป็นผู้ที่สืบสานและรักษาอัตลักษณ์และภูมิปัญญาด้านงานศิลปหัตถกรรมไทย ให้คงอยู่และสะท้อนความเป็นไทยมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานหัตถกรรมที่ใกล้จะสูญหายหรือมีผู้สืบทอดน้อยราย ดังเช่น เสน่ห์อัตลักษณ์ผ้าทอไทยวน ที่ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวไทยวนที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์บ่งบอกถึงชาติพันธุ์และถิ่นกำเนิด วัฒนธรรมการทอผ้าเพื่อใช้ในงานพิธีต่างๆ แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยผ่านไป การทอผ้าอัตลักษณ์ชาวไทยวนเริ่มมีจำนวนผู้สืบสานลดน้อยลง ตัวอย่างเช่น ครูปราณีต วรวงสานนท์ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2560 และครูสุพัตรา ชูชม ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2562
ครูปราณีต วรวงสานนท์ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2560 ที่ยังคงสืบสานการทอผ้าทอไทยวนที่ใช้กรรมวิธีทอลายขวางลงไปในบริเวณส่วนกลางของผืนซิ่น (ตัวซิ่น) สามารถเปลี่ยนสีของผืนซิ่นได้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ยังคงไว้ในส่วนหัวซิ่นกับช่วงท้ายซิ่นที่ใช้สีเหมือนกัน เป็นการอนุรักษ์รูปแบบการทอผ้าซิ่นไทยวนแบบโบราณเอาไว้ อาทิ ผ้าห่มมุก และ ผ้าห่มเสื่อ เนื่องจากรูปแบบของลายที่ใช้ทอประกอบลงไปในเนื้อผ้าทั้งสองชนิดนั้น เป็นลวดลายที่ยาก ต้องนำผ้ามุกมาทอลายยกดอก 5 ตะกอ โดยถือเป็นรูปแบบการทอผ้าซิ่นยวนโบราณไว้ได้ อย่างครบถ้วน
ด้านครูสุพัตรา ชูชม ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2562 ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่อนุรักษ์เทคนิคการจกแบบโบราณด้วยขนเม่น หรือที่ชาวยวนเรียกว่า “ผ้าเก็บ” ซึ่งเป็นเทคนิคการจกที่มีการสืบทอดมาตั้งแต่โบราณ เป็นการจกสด ไม่มีการเก็บลายไว้ก่อน นอกจากนี้ ยังได้รื้อฟื้นชิ้นงานขึ้นใหม่ คือ “ถง” หรือ “ถุงย่ามไทยวน” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์สำคัญที่อยู่คู่กับชาวไทยวนในยุคเชียงแสนตอนต้นมาอย่างยาวนาน
การอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา นางสุหัตรา ชูชม เกิดและเติบโตมาในชุมชนของชาวไทยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จึงได้ยินเสียงกี่ทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก ได้เห็นคุณยาย คุณแม่ และชาวบ้านในชุมชนทอผ้ากันมาโดยตลอด แต่ไม่มีโอกาสได้ขึ้นกี่ด้วยตนเอง เนื่องจากในเวลานั้นยังไม่มีความสนใจและยังไม่เห็นคุณค่า เมื่อโตขึ้น จึงเลือกเรียนในด้านที่สนใจอย่างสถาปัตยกรรม การออกแบบตกแต่งภายใน เมื่อเรียนจบจึงผันตัวมา เป็นมัณฑนากร ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครเรื่อยมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี จนเมื่อคุณแม่ล้มป่วย ทำให้นางสุพัตราตัดสินใจกลับมาอยู่บ้านเกิด จังหวัดสระบุรีอีกครั้ง แต่ได้มาพบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชุมชน บรรยากาศที่เคยรายล้อมด้วยกี่ทอผ้าที่แทบทุกหลังคาเรือนต้องมี ถูกทิ้งไว้อย่างไรค่า เพราะเหตุนี้ทำให้นางสุพัตราได้ตระหนักถึงความสำคัญ กลัวว่าผ้าทอของราวไทยวน จะหายไปตามกาลเวลา จึงเกิดความคิดในการรื้อพื้นการทอผ้าโบราณนี้ขึ้นใหม่ โดยเริ่มเรียนรู้ และฝึกฝนฝีมือการทอผ้ากับครูหลายท่าน เริ่มจากฝึกทอผ้าพื้นธรรมดา เมื่อชำนาญแล้วจึงฝึกทอ ผ้ายกบุกและทอผ้าสี่เขาที่มีความยากได้สำเร็จ และยังคันคว้า ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับลวดสายผ้าทอ โบราณทั้งหมดของชาวไทยวน เสาไห้ จากผู้เชี่ยวชาญและจากพิพิธภัณฑ์ผ้าทอโบราณ ในจังหวัดสระบุรี จนมีโอกาสได้ไปเห็นผ้าซิ่นตีนจกที่มีอายุกว่า 250 ปี จำนวน 9 ผืน ที่อาจารย์ทรงชัย วรรณกุล ผู้นำชุมชนไทยวน สระบุรีและเป็นครูผู้ชำนาญเรื่องผ้าได้เก็บรักษาไว้ จึงได้รู้เรื่องราวและความสำคัญ ของผ้าซิ่นตีนจกไทยวนโบราณมากขึ้น เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์ผ้าทอโบรานของบรรพบุรุษ ให้คงอยู่คู่อำเภอเสาไห้
ภูมิปัญญาที่สะท้อนทักษะฝีมือเชิงช่าง นางสุพัตรา ยังคงอนุรักษ์เทคนิคการจกแบบโบราณ ด้วยขนเม่น เพื่อทอเป็น “ผ้าซิ่นตีนจก” หรือชาวไทวยวนเรียกว่า “ผ้าเก็บ” ซึ่งเทคนิคนี้ถือเป็นเทคนิคการจกที่มีการสืบบทอดมาตั้งแต่โบราณ “การจกขนเม่น” คือ การใส่ขนเม่นงัดเส้นด้ายยืนตามลายที่ต้องการจก จากนั้นสอดล้ายเส้นที่โช้จก ลายขุดลงไป แล้วจึงใช้ขนเม่นควักด้ายจกกลับขึ้นมาจนเกิดเป็นลวดลายตามขวาง การจกขนเม่น เป็นการจกสด ไม่มีการเก็บลายไว้ก่อน ช่างทอผ้านอกจากต้องมีความชำนาญในการจกแล้ว ยังต้องเข้าใจเรืองลวดลายที่ใช้จกอย่างดีด้วย
โครงสร้างชื่นเก็บ (จก) ไทยวน สระบุรี ประกอบด้วย “หัวซิ่น” ใส่ผ้าสีขาวและสีแดงทอสองตะกอ “ตัวซิ่น” เป็นผ้าเก็บ (จก) ลายที่พบ เช่น ลายบัวคว่ำบัวหงาย ลายนาค ลายเครือวัลย์ หรืออาจต่อด้วยผ้ายกมุกแปดเขา “ตีนซิ่น” เป็นการเก็บ (จก) ลวดคลายที่เรียกว่า ลายเชียงแสนน้อยเป็นลวดลายที่มีพื้นสีแดง และมีเล็บสีเหลืองที่ปลาย เล็บชื่นนี้มีไว้วัดความประณีตของผู้ทอ
นอกจากนี้นางสุพัตรา ยังได้เปิดบ้านเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก นำเสนอเรื่องราวของผ้าซิ่นตีนจก และอุปกรณ์การทอผ้าในสมัยโบราณที่มีอายุยากกว่า 200 ปี โดยมุ่งหวัง ที่จะเผยแพร่ความรู้เรื่องของผ้าซิ่นตีน จกไทยาน เสาไห้ สระบุรี ไปสู่คนทั่ไปให้กว้างขวางยิงขึ้นอีกด้วย
ชาญวิทย์ คำนวนวุฒิ สระบุรี