พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร และ Kerry

วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.30 น.ณ ห้อง 301 อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ประธานกล่าวเปิดและร่วมบันทึกลงนามข้อตกลง  พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล สุขโหตุ คณบดีคณะโลจิสติกส์ และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร , นายพงศ์ศิริ  ศิริธร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด, นายศุภชัย  บุสนาม ผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด และมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการร่วมมือและสนับสนุนการศึกษา งานวิชาการ และงานวิจัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ประยุกต์ใช้กับงานโลจิสติกส์ในวันนี้

คณะโสจิสติกส์และดิจิทัลชัพพลายเขน มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับการเปลี่ยนสถานภาพ จากวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยสภามหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2563 โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้ประเทศไทยสามารถยกระดับระบบโลจิสติกส์ของประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ทำให้มีความจำเป็นต้องพัฒนามาตรฐานวิชาชีพโลจิสติกส์ และพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยใช้หลักสูตรและการเรียนการสอนแบบมุ่งเป้า เน้นความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนเนื้อหารายวิชาให้ทันสมัย มีระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของนิสิตตัวยการปฏิบัติงานจริง ในสภาพแวดล้อมจริง โคยร่วมมือกับสถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ

การร่วมมือทางวิชาการกับ บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นภาคเอกชนที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญ ทั้งในด้านซัพพลายเซนโซลูชั่น โลจิสติกส์ การขนถ่ายสินค้า การจัดการคลังสินค้า และการกระจายสินค้าทั่วประเทศ ถือเป็นโอกาสอันดีของคณะโลจิสติกส์และติจิทัลชัพพลายเขน ที่จะดำเนินกิจกรรมด้านการวิชาการ การวิจัย ตลอดจนการฝึกอบรมระยะสั้น และการสหกิจศึกษา นอกจากนั้น บริษัท เคอรี่โลจิสติคส์ (ประเทศไทย)จำกัด จะให้การสนับสนุนด้านเทคโนโถยีดิจิทัล อาทิ ระบบการจัดการคลังสินค้า(WarehouseManagement System)และ ระบบการจัดการการขนส่ง (TIransportation ManagementSystem) สำหรับการสร้างห้องปฏิบัติการดิจิทัล เพื่อให้นิสิตของคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเขน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีมีความรู้ความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์  และดิจิทัลซัพพลายเชน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนางานวิจัยระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ที่คณะโลจิสติกส์ฯ และบริษัท เคอรี่ โลจิสติศส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะร่วมกันพัฒนางานวิจัยในลำดับต่อไป


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า