“กิ๋นหอม ต๋อมโม่น เตียวผ่อ ช่อแล” กิจกรรมชาวไทเขินบ้านช่อแล “ชุมชนตลาดโบราณไทเขิน” 1 เดียวในโลก

 

ชุมชนตลาดโบราณไทเขินอายุ 600 – 700 ปี มีอัตลักษณ์บ้านเรือนไม้ที่รูปแบบหนึ่งเดียวในโลก จากการเข้ามาสำรวจของ งานวิจัยแนวทางส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชนตลาดโบราณเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่ามีรูปแบบของบ้านเรือนไม่เหมือนสถาปัตยกรรมของไทยหรือชาวจีน กลายเป็นหนึ่งเดียวในโลก เพราะภายในบ้าน 1 หลัง มีทั้งร้านค้า โรงเก็บของพืชผลทางการเกษตรไว้ค้าขาย โดยเฉพาะแนวหลังคาบ้านจะเสมอกันแนวถนน มีตอนนี้ 5 รูปแบบ

 

อีกหนึ่งกิจกรรม ของชาวไทเขินบ้านช่อแล “กิ๋นหอม ต๋อมโม่น เตียวผ่อ ช่อแล ” หมู่ที่ 1 ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ก่อนถึงขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล นายเวชศักดิ์ ยะบุญธง หรือเก่ง ประธานชุมชนไทเขินบ้านช่อแล พร้อมด้วยชาวชุมชนไทเขิน ไทยใหญ่ และคนเมือง ได้ร่วมกันจัดถนนวัฒนธรรมไทเขินช่อแล ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง ถนนที่มีเรื่องราวเล่าแห่งวัฒนธรรมมาแต่โบราณ ตลาดชุมชนเก่าแก่มีอายุกว่า 600 -700 ปี จะเห็นบ้านเรือนไม้ที่อยู่ 2 ฝั่ง ของชุมชน ยังคงความงดงามดั่งวันวานผสมผสานกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนช่อแล มาครั้งแต่ก่อน จนมาถึงปัจจุบันยังคงรักษาบ้านเรือนไม้ และจารีตประเพณีสืบสานของชาวไทเขินไว้มาจนถึงปัจจุบัน ถึงกาลเวลาจะผ่านมานานแล้วก็ตาม บ้านเรือน อาหารการกิน วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม การแต่งกาย การพูดจาแบบไทเขิน คงเป็นอัตลักาณ์อันโดดเด่นของชุมชนแห่งนี้ ซึ่งเมื่อ 800 ปีก่อนบรรพบุรุษได้อพยพจากเมืองเชียงรุ่ง มาเชียงแสน จนกระทั่งได้ย้ายมาตั้งรากฐาน ณ บ้านช่อแลแห่งนี้ ส่วนชื่อ “ช่อแล” มาจากชุมชนมีต้นสะแลเป็นจำนวนมาก ทำให้ตั้งชื่อชุมมชน “บ้านช่อแล”

 

อย่างไรก็ตามชุมชนได้หารือร่วมกันบริหารจัดการโดยชุมชน “บ้านช่อแลไทเขิน” จัดถนนวัฒนธรรม เป็นรูปแแบถนนคนเดิน ซึ่งมีบรรยากาศของบ้านเรือน การนำสินค้า ของที่ระลึก เสื้อผ้าของชาวไทเขินมาจำหน่าย ร่วมไปถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน มีกล้วยหอมทอง เป็นผลไม้ที่ปลูกมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะเปิดการท่องเที่ยวร่วมกับ “งานหนาวนี้ที่เมืองแกน” ซึ่งเทศบาลตำบลเมืองแกน ได้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2564 ถึง 3 มกราคม 2565 แต่ทางชุมชนตลาดโบราณไทเขิน จัดเดือนละ 2 ครั้ง สัปดาห์ที่ 2 และที่ 4 ของทุกเดือนจากนี้เป็นต้นไป เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว สร้างรายได้ ให้ชุมชน ส่งเสริมอัตลักษณ์ของชาวไทเขินช่อแล ให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ เพราะบรรยากาศของตลาดชุมชนเก่าแก่แห่งนี้ได้ผ่านงานวิจัยแนวทางส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชนตลาดโบราณ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยอาจารย์ กอบชัย รักพันธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ มีกว่า 600 หลังคาเรือน ยังคงมีชาวบ้านพักอาศัย ตลอดเส้นทางหลักระยะ 850 เมตรในชุมชน และเส้นทางที่เป็นส่วนขยายทั้ง 2 เส้นมีเรือนร้านค้าไม้สักลักษณะเชิงช่างเฉพาะของช่อแล ให้ได้ศึกษาร่วม 30 หลัง ทั้งการใช้พื้นที่ในตัวเรือนพื้นที่รอบบริเวณบ้านและรายละเอียดองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ที่ละเอียดและงดงามให้ชื่นชมไปตลอดสองฟากถนนบ้านช่อแล องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมมีลายเซาะร่องคาน ราวบันไดบาก ซึ่งพบว่ารูปแบบของบ้านเรือนมีอยู่ 5 แบบหลักๆ ไม่เหมือนสถาปัตยกรรมของไทย หรือ ของจีน เป็นอัตลักษณ์ 1 เดียวในประเทศไทยและในโลก

 

นายเวชศักดิ์ ยะบุญธง ประธานชุมชนฯ กล่าวเสริมว่า “ถิ่นดินอุดม น้ำสมบูรณ์ สูดอากาศดี บ้านช่อแล” ตั้งอยู่บริเวณที่มีน้ำสองสายบรรจบกัน ได้แก่ลำน้ำปิงและน้ำแม่งัด เดิมทีมีน้ำหลาก ดินบ้านนี้เป็นดินตะกอนสมบูรณ์ มีไม้สักอยู่เยอะบ้านเรือนส่วนใหญ่จึงสร้างมาจากไม้สัก อีกทั้งยังเป็นชุมชนที่มีท่าแพข้ามฟากแม่น้ำปิง จุดสำคัญ ทำให้มีคนผ่านทางเข้ามามาก การค้าของบ้านช่อแล จึงคึกคักไปด้วย สองฟากถนนส่วนใหญ่ เป็นเรือนร้านค้า ต่อมามีการทำสะพานข้ามพากเป็นขัวแตะ ดังนั้นเมื่อน้ำหลากมาก็พัดเอาขัวไปด้วยทุกปีไป จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริโปรดให้สร้างเขื่อนแม่งัดฯ และขัวปูนขึ้นตั้งแต่นั้นมาการข้ามน้ำก็ง่ายขึ้น ท่าข้ามแพ ลดบทบาทลง น้ำไม่หลากมาท่วมหมู่อีก บ้านเรือนร้านค้าสองฝากถนนและวิถีชีวิตผู้คนบ้านช่อแลดำเนินไปอย่างสงบเรียบง่ายจนปัจจุบัน

สำหรับใครที่ต้องการมาเที่ยวชม บ้านไม้เก่าแก่ ตลาดชุมชนโบราณ อัตลักษณ์ของชาวไทเขินช่อแล อำเภอแม่แตง สามารถเข้าไปติดตามกิจกรรมต่างๆได้ที่แฟนเพจ “ฮัก ณ ช่อแล” หรือโทรสอบถามประธานชุมชน เก่ง 085-0417395.


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า