ปางช้างแม่สา สืบสานพันธุ์ช้างไทย ทำพิธี “เปิดบ้านพักช้างสูงวัย” หรือ “บ้านพักช้างชรา” (Home for Elderly Elephants) เพื่อรองรับช้างวัยชรา ช้างป่วย และช้างมีปัญหาสุขภาพ โดยมีนักธุรกิจใจบุญมอบเงิน 8 ล้านบาทให้กับปางช้างแม่สา เพือการดูแลช้างชรา สูงวัย พร้อมขยายพันธุและการอนุรักษ์ช้างไทยให้ยั่งยืน
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 09.30 น. ณ สถานที่เดอะช้าง หรือสวนลิ้นจี่ บริเวณที่เลี้ยงช้างสูงวัย ปางช้างแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดชียงใหม่ นางอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา พร้อมด้วยนายเศวต เศวตสมภพ กรรมการบริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ได้เพื่อนำมาพักฟื้น ดูแลสุขภาพ ทั้งเรื่องของอาหารและสภาพจิตใจเป็นพิเศษ เพื่อช่วยยืดอายุช้างให้ยืนยาวมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมามีช้างชราล้มไปแล้วหลายเชือก
นายเศวต เศวตสมภพ กรรมการบริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า ได้มีการมอบเงินจำนวน 8 ล้านบาท ให้กับนางอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เพื่อช่วยเหลือดูแลช้างในปางกว่า 70 เชือก รวมทั้งพนักงานและควาญช้าง หลังประสบปัญหาวิกฤต ทางการเงิน จากสถานการณ์โควิค 19 เพราะว่าคุณพ่อและครอบครัวมีความผูกพันกับปางช้างแม่สา มาเป็นเวลานนาน เมื่อครอบครัวเดินทางมาเชียงใหม่ ก็จะมาแวะเที่ยวชมที่ปางช้างแม่สาทุกครั้ง จึงเป็นผูกพันและความห่วงใย จึงได้มอบเงินช่วยเหลือและเสริมสร้างสานต่อโครงการอนุรักษ์ช้างไทย ของปางช้างแม่สาให้อยู่คู่คนไทยไปตราบนานเท่านาน
ด้านนางอัญชลี กัลมาพิจิตร เปิดเผยว่า บ้านพักช้างสูงวัย” หรือ “บ้านพักช้างชรา” (Home for Elderly Elephants) จัดทำขึ้น เพื่อยึดอายุช้าง ใช้ชีวิตในปั้นปลาย ซึ่งมีช้างชรามากถึง 16 เชือก มีพังหมู อายุ 61 ปี ไปจนถึงปู่พลายคำหมื่น อายุมากถึง 85 ปี และเป็นช้างที่มีงาสวยงามและหายาก เรียกว่างาอ้อมจักรวาล ลักษณะงาข้างขวาจะโค้งงอไปหางาด้านซ้ายและมีงาด้านซ้ายทับด้านบน และพลายคำหมื่นจะหวงงามาก ถือเป็นช้างอาวุโสอายุมากที่สุดในปาง แต่ยังแข็งแรง ซึ่งทางปางฯต้องดูแลทั้งในเรื่องอาหาร เนื่องจากบางเชือก อย่างพังแม่จันทร์ อายุ 66 ปี ป่วยจนล้มลงนอน และลุกไม่ขึ้นมาแล้วถึง 6 ครั้ง ทางปางช้างฯและควาญต้องช่วยเหลือ นำรถเครนพยุงให้ลุกขึ้น ยึดอายุออกไปได้อีก และต้องดูแลอย่างดี มีแผลกดทับ ต้องให้ใช้ยาสมุนไพร ในการรักษาฆ่าเชื้อและรักษาแผล ส่วนอาหารต้องปั่นหญ้าเนเปียผสมอาหารสำเร็จรูป เพื่อให้ช้างที่ไม่มีฟัน กินอาหารและย่อยง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังมีสุสานช้าง และนำโครงกระดูกทุกส่วนของช้างมาจัดแสดง เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อสืบสานอนุรักษ์ช้างไทย
นางอัญชลี กัลมาพิจิตร กล่าวต่ออีกว่า ช้างชราต้องดูแลพวกเขาอย่างดี เพื่อให้มีอายุยืนยาวขึ้น จนกว่าจะหมดอายุไข และในวันนี้ยังได้มีพิธีทำบุญ เนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปี ของการจากไปของคุณพ่อ (พ่อเลี้ยงชูชาติ กัลมาพิจิตร) ผู้ก่อตั้งปางช้างแม่สา และเปิดบ้านพักช้างสูงวัย โดยได้นิมนต์พระสงฆ์เจิมป้าย ”บ้านพักช้างสูงวัย Home for Elderly Elephants” โดยมีนายเศวต เศวตสมภพ กรรมการบริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นประธานในพิธี พร้อมนำเค้กอาหารช้าง ผลไม้รวม อาหารเสริมช้างชรา มาให้ช้างกินอาหาร เค้กผลไม้ อาหารเสริม ซึ่งทางบริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ได้มอบเงินช่วยเหลือปางช้างแม่สา ไปใช้จ่ายพร้อมเป็นทุนตั้งต้นในการดำเนินงาน ”บ้านพักช้างสูงวัย Home for Elderly Elephants” จำนวน 8,000,000 บาท พักให้ช้างชราและซื้ออาหารให้กับช้างและดูแลพนักงานและควาญช้าง จากวิกฤตโควิค โดยทางปางฯมีช้างอายุมากที่สุด 85 ปี ชื่อพลายคำหมื่น มีงาที่สวยงามและหายาก เรียกว่า งาอ้อมจักรวาล ซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน โดยทางชมสุสาน หรือบ้านพักช้างสูงวัย Home for Elderly Elephants” พร้อมห้องจัดแสดงโครงกระดูกช้างเพื่อสืบสานสายพันธุ์ช้างไทย
สำหรับปางช้างแม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ มีช้างอยู่จำนวนถึง 70 เชือก จากที่เคยมีร่วม 100 เชือก เหตุเกิดจากช้างชราที่เสียชีวิตลงไปทุกๆปี และไร้ลูกช้างน้อยเกิดขึ้นมาในช่วง 3 ปีหลังมานี้ ทำให้ปางช้างแม่สา เริ่มเข้าสู่สังคมช้างชรามากขึ้นแล้ว จนในวันที่ 27 ม.ค.นี้ ได้มีการเปิดบ้านพักช้างชรา ขึ้นโดยมีช้างชราถึง 16 เชือกต้องดูแลดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ช้างไทย ทางปางช้างแม่สา จึงได้มีโครงการส่งเสริมสืบสานสายพันธุ์ช้างไทยของปางช้างแม่สา โดยได้มีการส่งชัางตัวเมียออกไปทำการผสมพันธุ์กับช้างพ่อพันธุ์ ที่อยู่ต่างปาง
สืบเนื่องจากช้างจำนวนร่วม 70 เชือกเป็นช้างเลือดชิดญาติพี่น้องกันทั้งสิ้น ดังนั้นทางปางช้างแม่สา จึงมีโครงการส่งช้างเป็นเจ้าสาวไปยังปางช้างที่มีพ่อพันธุ์ดี โดยเมื่อวันที่ 25 ม.ค.นี้ ทางคุณอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา ได้ทำการส่งชัางพัง มีนาอายุ14ปีและช้างพังเพิ่มพูนอายุ23ปี เป็นขบวนเจ้าสาวช้างเพื่อส่งไปอยู่เพื่อผสมพันธุ์กับช้างพ่อพันธุ์ที่ปางช้างภัทร อ.หางดง จ.เชียงใหม่โดยให้อยู่เป็นเวลา 2 เดือนเพื่อให้คุ้นเคยและผสมพันธุ์แบบธรรมชาติ ซึ่งระยะ 2-3 ปีจึงจะได้ลูกช้างน้อยเกิดขึ้น โดยแต่ละปางจะมีการขนย้ายช้างโดยรถขนย้ายแบบไฮโดรลิคในการขนย้ายซึ่งจะเป็นช่วงยากในตอนที่นำช้างขึ้นรถ เพราะช้างแต่ละเชือกจะกลัวการจากถิ่นฐานเดิมควาญต้องปลอบประโลมอยู่นานจึงยอมขึ้น ซึ่งในการขนย้ายช้างทางปศุสัตว์แต่ละอำเภอจะต้องมีการตรวจสอบอย่างถูกต้องก่อน
สำหรับการบริหารภายในของปางช้างแม่สาทำให้เราเสียโอกาส ช้างเชือกที่อายุน้อยที่สุดของปางช้างแม่สา มีอายุ3 ปี หากปีนี้เราเริ่มผสมช้างอีกครั้งก็จะต้องรอไปอีก2-3 ปีที่เราจะได้ลูกช้างเพราะฉนั้นเราคิดเรื่องการขยายพันธุ์หรือโครงการขยายประชากรช้างของเรามาตั้งแต่ปี2564 แล้วดำเนินการในการที่คัดพ่อพันธุ์ และทำสัญญาในการ เรียกว่าจ้างพ่อพันธุ์ เพราะช้างในปางเราเป็นสมาชิกเรียกว่ามีสายเลือดที่ใกล้ชิดกัน จึงต้องหาพ่อพันธุ์จากข้างนอก เพราะผสมกันเองจะมีปัญหาเรื่องเลือดใกล้ชิดเราจะไม่ทำ แต่ขบวนการทั้งหมดเราใช้นายสัตวแพทย์หลายคนและทีมควาญที่มีความรู้ แล้วเราทำแบบใช้งานวิชาการเข้ามาในการที่จะผสมโดยธรรมชาติ ในวันนี้เราส่งช้างเพศเมีย2 เชือกมีชัางพัง มีนาอายุ14ปีและช้างพังเพิ่มพูนอายุ23ปีซึ่งอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ไปหาพ่อพันธุ์ที่หางดง เราคิดว่าเป็นวันที่ยิ่งใหญ่เพราะว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่เราเดินทางไปซึ่งขั้นตอนในการที่ช้างจะต้องไปใกล้ชิดและรู้จักกันและยอมในการที่จะผสมพันธุ์กัน หลังจากนั้นเราก็จะต้องรอว่าช้างที่เราส่งไปผสมพันธุ์นั้นท้องไหม ถ้าไม่ท้องภายใน 8 เดือนเราก็ต้องส่งช้างเชือกเดิมไปผสมพันธุ์อีกครั้งซ้ำอีก และจะใช้เวลาในขบวนการที่จะใด้ลูกช้างร่วม 3 ปี นางอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา กล่าวในตอนท้าย.
นิวัตร ธาตุอินจันทร์ เชียงใหม่