รฟท. เปิดพิธีเชื่อมต่อช่วงสุดท้ายสะพานขึงรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลอง จ.ราชบุรี ก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม – หัวหิน
วันที่ 25 มิ.ย. 65 นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายอุคม เพชรคุต รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พลตรีวิกร เลิศวัชรา รองเจ้ากรมการทหารช่าง นางสาวกุลวลี นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ นายดนุช ยนตรักษ์ การผู้จัดการบริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริง ( 1964 ) จำกัด ร่วมเปิดการเชื่อมต่อ ช่วงสุดท้ายบรรจบสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลอง
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างรถไฟ นครปฐม-หัวหิน สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล ระยะทางประมาณ 93 กิโลเมตร มีมูลค่างานก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น 8,198,000,000 บาท ในการร่วมแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการก่อสร้าง จากความร่วมมือเชิงบูรณาการของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการก่อสร้าง สืบเนื่องจากการตรวจพบวัตถุระเบิดสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2อยู่ในลำน้ำในบริเวณที่จะทำการก่อสร้างสะพานรถไฟ ซึ่งเดิมมีรูปแบบเป็นเสาตอออยู่ในลำน้ำรูปแบบเดียวกันกับสะพนจุฬาลงกรณในปัจจุบัน และจากผลการสำรวจการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดจะมีความเสี่ยงสูงและใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนาน เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น
จึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสะพานรถไฟเป็นแบบผสม เป็นแบบคานคอนกรีตสมดุล (Balance Cantilever) ผสมกับการมีเคเบิ้ลขึง (Tension Cable) เรียกชื่อ สะพานแบบ Extradosed เป็นสะพานขึงสำหรับรถไฟแห่งแรกในประเทศไทย มีความยาวสะพานรวม 340 เมตร มีช่วงสะพาน 3 ช่วง) โดยช่วงสะพานที่ข้ามแม่น้ำแม่กลองมีความยาว 160 เมตร ในปัจจุบันการก่อสร้างโครงสร้างหลักของสะพานแล้วเสร็จเกือบสมบูรณ์ และอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมสำหรับการเทคอนกรีตโครงสร้างชิ้นสุดท้าย เพื่อเชื่อมต่อโครงสร้างสะพานทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกัน การก่อสร้างสะพานและโครงการฯใกล้แล้วเสร็จ จะทำให้การให้บริการเดินรถเชิงพาณิชย์ของรถไฟ มีความสมบูรณ์สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนได้ดีขึ้น อีกทั้งสะพานแห่งนี้จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่จะเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของจังหวัดราชบุรีและของประเทศในอนาคต
นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่รถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม หัวหิน สัญญาที่ 1 เป็นส่วนหนึ่งของการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ที่เป็นหนึ่งในความตั้งใจและความภูมิใจของการรถไฟฯ ที่จะได้เพิ่มขีดความสามารถที่จะอำนวยความสะดวก ในการการคมนาคมขนส่งและนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเปิดประตูไปสู่ภาคใต้ และในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการต่อขยายการก่อสร้างทางคู่ไปจนถึงสุไหงโกลกต่อไป การรถไฟแห่งประเทศไทยหวังอย่างยิ่งว่าเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการจะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งและการท่องเที่ยวกับประชาชนชาวราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียงด้วย