พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่บางระกำโมเดล จ.พิษณุโลก เพื่อเตรียมมือรับน้ำหลากปีนี้
เมื่อเวลา 15.30 น.วันที่ 4 เม.ย.65 ที่อาคารเอนกประสงค์ ประตูระบายน้ำบางแก้ว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและเร่งรัดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ พิจิตร และพิษณุโลก โดยที่จังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดสุดท้าย ในการเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการโครงการบางระกำโมเดลปี 2565 โดยทันที ที่พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงจากรถได้มี บรรดาว่าที่ผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ของจังหวัดพิษณุโลก ได้ทางมารอต้อนรับพร้อมแนะนำตัวแบบล้อมหน้าล้อมหลัง กันทีเดียว
โดยหลังจากนั้นได้มีนายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้สถานการณ์รับมือน้ำของจังหวัดพิษณุโลก ให้คณะรองนายกรัฐมนตรี ก่อนที่ทางอธิบดีกรมชลประทานได้กล่าวสรุปมาตรการรับมือน้ำหลาก โดยมี 10 ทุ่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็น 1 ใน 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565
พลเอก ประวิตร กล่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยต่อผลกระทบกับประชาชน โดยเฉพาะความเสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ โดยมอบหมาย สทนช.บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและได้กำชับให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตาม 9 มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้งปี 2564/65 ตามมติ ครม. อย่างเคร่งครัด
สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมมาตรการรับมือน้ำหลากโดยบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ทุ่งบางระกำ และอีก 10 ทุ่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็น 1 ใน 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 ตามที่ กนช. เห็นชอบ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำที่ประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำทุกปี โดยมอบให้กรมชลประทานและกรมทางหลวงชนบท จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงการบางระกำโมเดลในการหน่วงน้ำให้ได้มากขึ้นและดำเนินการปรับปรุงยกระดับถนน คันคลอง และปรับปรุงอาคารชลประทานในพื้นที่โครงการ รวมถึงมอบให้กรมชลประทานและกรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งจัดทำแผนงานพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ใน จ.พิษณุโลก เพื่อป้องกันอุทกภัยและภัยแล้ง เช่น อ่างเก็บน้ำขนาดกลางในลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำวังทอง และแม่น้ำชมพู รวมทั้งมอบให้กรมชลประทาน พิจารณาทำแผนพัฒนาโครงการในลุ่มน้ำยม โดยการก่อสร้างประตูระบายน้ำเพื่อเก็บกักน้ำเป็นแบบขั้นบันไดและการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่ต้นน้ำด้วย
สทนช.ได้กำกับติดตามแผนการบริหารจัดการน้ำของทุกหน่วยงาน รวมถึงพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงภาวะน้ำแล้งอย่างต่อเนื่อง โดยความคืบหน้าแผนการใช้ทุ่งบางระกำ และอีก 10 ทุ่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำรวม 1,704 ล้าน ลบ.ม. ในช่วงฤดูฝนนั้น กรมชลประทานได้ปรับปฏิทินการเพาะปลูกเพื่อให้เกษตรกรได้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทันก่อนน้ำหลาก โดยทุ่งบางระกำเริ่มส่งน้ำไปแล้วตั้งแต่ 15 มี.ค.65 เพื่อเก็บเกี่ยวได้ภายในเดือน ก.ค.65 และทุ่งเจ้าพระยาตอนล่าง 10 ทุ่ง เริ่มส่งน้ำ 15 เม.ย.65 และเก็บเกี่ยวได้ภายใน 15 ก.ย.65 รวมพื้นที่ 1.2 ล้านไร่
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยสวทชกำกับติดตามดำเนินการฤดูฝนปี 65 กรมชลประทานและทางหลวงชนบทเพิ่มประสิทธิภาพโครงการบางระกำโมเดล เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้มากที่สุด การใช้น้ำขอให้ใช้อย่างประหยัดให้สอดคล้องกับการวางแผนปีนี้เป็นปีแรกที่ปลูกข้าวนาปรังได้ 1 ครั้ง โครงการบางระกำโมเดล น้ำเพื่อการเกษตรที่เตรียมไว้แล้ว ขณะที่กรมชลประทานกรมโยธาธิการและผังเมืองจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำระดับใหญ่เพื่อป้องกันอุทกภัยและภัยแล้ง เช่นเขื่อนทดน้ำท้ายเหมือง แนะนำอ่างเก็บน้ำขนาดกลางในลุ่มน้ำวังทองและลุ่มน้ำชมพู กรมชลประทานที่พัฒนาทำแผนพัฒนาลุ่มน้ำยมโดยการก่อสร้างประตูระบายน้ำ เพื่อจัดเก็บน้ำเป็นขั้นบันได พัฒนากักน้ำในพื้นที่ต้นน้ำลุ่มวังทองและลุ่มน้ำชมพู
อย่างไรก็ตามหลังจากกล่าวบนเวทีเสร็จ พล.อ.ประวิตร ได้เดินลงมาทักทายประชาชน พร้อมรับหนังสือร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่ทุ่งน้ำบางระกำโมเดล เนื่องจากขาดแคลนน้ำทำการเกษตรขอให้ ลุงป้อม ช่วยเหลือในการจัดสรรน้ำเพื่อเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวด้วย โดยพล.อ.ประวิตร ได้รับหนังสือ พร้อมกับรับปากจะเร่งทำการช่วยเหลือโดยเร็ว พร้อมทั้งได้ตรวจดูสถานการณ์น้ำที่ประตูระบายน้ำคลองบางแก้ว ก่อนเดินทางกลับ กทม.ทันที โดยไม่ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนแต่อย่างใด
สุพิณ พิโลก