ใส่บาตรบนหลังช้าง จังหวัดสุรินทร์ ประจำปี 2565 ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของ จ.สุรินทร์ และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวชาวไทย รวมทั้งชาวต่างประเทศได้ทราบ
วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 เวลา 07.30 น. นายกิคิพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้นำพุทธสาสนิกชน ร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งใส่บาตรพระสงฆ์ที่นั่งรับบิณฑบาตรบนหลังช้าง ท่ามกลางสายฝนที่โปรยปราย ได้มีพุทธสาสนิกชนและนักท่องเที่ยว ได้มาร่วมทำบุญใส่บาตรบนหลังช้างเนื่องในวัน “วิสาขบูชา” มีขบวนช้างของ องค์การบริหารส่วน จังหวัดสุรินทร์ ให้พระเถรชั้นผู้ใหญ่ พร้อมพระภิกษ สามเณรนั่งบนหลังช้างรับบิณทบาตร
การใส่บาตรบนหลังช้าง ซึ่งถือว่าเป็น “หนึ่งเดียวในโลก” โดยการทำบุญใส่บาตร ข้าวสาร อาหารแห้ง มีพุทธสาสนิกชนเดินทางมาร่วมทำบุญใส่บาตรเนื่องในวัน “วิสาขบูชา” มีนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศมาร่วมทำบุญใส่บาตรในครี้งนี้ได้ทำบุญ และได้บริจาคเงินทำบุญกับช้างซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ใหญ่ และ สัตว์มงคล ที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาช้านานด้วย
โดยพุทธศาสนิกชนที่มาใส่บาตร จะแต่งกายด้วยชุดผ้าไหม หรือแต่งกายชุดผ้าพื้นเมืองของ จังหวัดสุรินทร์ พากันตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่ตนเองและครอบครัว ที่รับวัน “วิสาขบูชา” เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาด้วย
นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางท่องเที่ยว ไปยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง เช่น หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองโบราณ ที่บ้านท่าสว่าง อ.เมือง เรียนรู้ภูมิปัญญาการย้อมสีผ้าไหมจากธรรมชาติของชาวสุรินทร์ และตื่นตาไปกับศิลปะการถักทอเส้นไหมอันสลับซ้อนดิ้นทองผสมผสานลายราชสำนักโบราณ จำนวน 1,416 ตะกอ, หมู่บ้านช้าง อ.ท่าตูม เรียนรู้วิถีชีวิตชาว “กวย” หรือ “ กูย” ความสัมผัสความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ที่เลี้ยงช้างเป็นเสมือนดั่งสมาชิกในครอบครัว มากกว่าการเลี้ยงมุ่งเน้นการเลี้ยงช้างไปเพื่อการงานหรือธุรกิจ ปราสาทศีขรภูมิ อ.ศีขรภูมิ ชมภาพสลักนางอัปสราหินทรายที่สวยและสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย, หมู่บ้านเครื่องเงิน ที่ อ.เขวาสินรินทร์, และ กราบไหว้ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สถิตอยู่บนเขาพนมสวาย ค.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์
ภาพ/ข่าว: เขมชาติ ชุณหกิจขจร / รมิตา สิงหเสรี/ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์