มรภ.ศรีสะเกษ อบรมโครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ

มรภ.ศรีสะเกษ อบรมโครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน เรียนรู้จากสถานที่จริง

เมื่อ วันที่ 11 มี.ค. 65 เวลา 10.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เลขที่ 99  หมู่ 9 บ้านอีต้อม ต.คำเนียม อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ผศ. ดร.ลัดดา แสนสีหา รองคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ม.ราชภัฏศรีสะเกษ นำคณะผู้เข้าอบรม โครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ เข้าเรียนรู้จากสถานที่จริง ในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในวัยเกษียณ โดยมี พ.อ.สุรณัณ คำอุ่นสาร หัวหน้ากลุ่มงานนโยบายแผนและการข่าว กอ.รมน. จ.ศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายวิเชียร จันตะ เกษตร อ.กันทรารมย์ และ นายประวัติ ศรีสุวรรณ์ สสอ.กันทรารมย์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี นายเชิดชัย จิณแสน เจ้าของศูนย์เรียนรู้ ศพก. อ.กันทรารมย์ ต้อนรับและเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบอบรม หลังศึกษาดูงานแล้ว ผศ. ดร. พรปวีณ์ ชื่นใจเรือง คณะบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ม.ราชภัฏศรีสะเกษ ได้มอบใบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรมทั้ง 60 คน หลังจากอบรมมาครบ 5 วัน

ผศ.ดร.ลัดดา แสนสีหา รองคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ กล่าวว่า โครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ เป็นโครงการเตรียมรับกับสังคมผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกษียณอายุ มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและสิทธิประโยชน์ของผู้เกษียณอายุ มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ เรียนรู้ทักษะในการบริหารจัดการด้านการเงิน รวมทั้งการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต

นายเชิดชัย จิณแสน เจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จัดโครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ โดยเลือกผู้ที่ใกล้เกษียณอายุราชการ เข้ารับการฝึกอบรม เรียนรู้เรื่องของศาสตร์พระราชา เพื่อเอาไปพัฒนาตนเอง หลังจากที่เกษียณอายุไปแล้ว ทำให้ได้อยู่กับธรรมชาติ ป่าไม่ ต้นไม้ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ปลูกผักปลอดสารไว้กินเอง วันสุดท้ายของการอบรม ผู้เข้าอบรมได้มาศึกษาดูงานภายในศูนย์เรียนรู้ ได้สัมผัสกับสถานที่จริง

“โดยมีฐานให้เรียนรู้ทั้งหมด 9 ฐานประกอบด้วย 1. ฐานการเรียนรู้เริ่มต้นการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 2. ฐานาที่อยู่อาศัย 3. ฐานวนศาสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับไม้ยืนต้น 4. ฐานแหล่งน้ำ 5. ฐานประมง การเลี้ยงปลา 6. ฐานปศุสัตว์ การเลี้ยงโคเนื้อ สัตว์ปีก 7. ฐานการปลูกพืชผักสวนครัว 8. ฐานการทานา  และ 9. ฐานถอดองค์ความรู้ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ความรู้และเกิดประโยชน์สูงสุด” นายเชิดชัย กล่าว.

ณัฐธรชนม์ สิริโชติสกุล / ศรีสะเกษ


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า