ปศุสัตว์ราชบุรี เผยราคาหมูแพงจะดีขึ้นหลังเลยเดือนกรกฎาคมไปแล้ว

ปศุสัตว์ราชบุรีเผยหมูราคาแพง เกี่ยวกับเรื่องโรคระบาด วัตถุดิบ คนงานในฟาร์ม ออกนอกพื้นที่ไม่ได้จากเหตุโรคโควิด-19 คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นเลยเดือนกรกฎาคมไปแล้ว

เวลา 16.00 น. วันที่ 4 ม.ค.65  นายสัตวแพทย์ บุรินทร์ สรสิทธิ์สุขสกุล ปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี เปิดเผยถึงสถานการณ์การเลี้ยงหมูในพื้นที่ราชบุรีว่า จากตัวเลขที่สำรวจผ่านระบบ อี สมาร์ท พลัส ของกรมปศุสัตว์เมื่อต้นปีที่แล้ว จะมีการสำรวจปีละ 2 รอบ เมื่อสำรวจมาจำนวนแม่พันธุ์ที่ราชบุรีประมาณ 2 แสนตัวเศษ  เกษตรกรผู้เลี้ยง  24,000 ราย  ถือเป็นจำนวนที่เลี้ยงหมูมากที่สุดในประเทศ สำรวจแยกเป็นรายอำเภอในข้อมูลของอี สมาร์ท พลัส นั้น เช่น พื้นที่หลักอยู่ที่ อ.ปากท่อ  3,331 ราย  มีแม่พันธุ์  67,405 ตัว   รองลงมา อ.จอมบึง มีเกษตรกร  3,006 ราย  มีแม่พันธุ์  65,218 ตัว   และรองลงที่ อ.โพธาราม  4,356 ราย  มีแม่พันธุ์  32,139 ตัว    ที่โพธารามจะเป็นผู้เลี้ยงรายกลางถึงรายย่อยเป็นส่วนใหญ่ หากเป็นรายใหญ่จะอยู่ที่ อ.ปากท่อ และ อ.จอมบึง และ อ.เมือง

ส่วนวงจรราคาหมูแพง  ณ ปัจจุบัน กับตัวเลขที่เห็นนั้นเป็นตัวเลขที่สำรวจมาจากหลายอำเภอ หลังจากที่ผ่านมาปัญหาของโรคระบาด ทั้งโรค  เพิร์ส PRRS  ที่ทำให้เกิดความเสียหายฝูงแม่พันธุ์และฝูงหมูขุน รวมถึงโรคที่มีการระบาดปละปลาย อย่างโรคระบบทางเดินอาหารที่ทำให้ลูกหมูมีความเสียหาย  เปรียบเทียบเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ของคน โรคจะสะสมในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วันดีคืนดีจะมีการรวบรวมพลังออกมาทำให้เกิดความเสียหาย ในวงการหมูก็เช่นเดียวกัน คือ จะมีการวนเวียนประมาณ 4 ปี จะเกิดการระบาดรอบหนึ่งและมาตรงกันพอดีทำให้ความเสียหายค่อนข้างเยอะ

ส่วนสถานการณ์ราคาหมูแพงนั้น เริ่มเกิดการเสียหายเมื่อกลางปีที่แล้ว ทำให้แม่พันธุ์ที่มีในระบบเกิดการสูญเสีย  ซึ่งตัวเลขการสูญเสียนั้น สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอยู่ระหว่างใช้โปรแกรมของ อี สมาร์ท พลัส ของกรมปศุสัตว์ ลงไปสำรวจอีกที ว่าจำนวนแม่พันธุ์ที่มีการสูญเสียไปนั้นมากน้อยแค่ไหน  ตามที่ในข่าวว่าเสียหายไปประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์นั้น เป็นแค่การประมาณการณ์ ส่วนตัวเลขจริงนั้นยังไม่มีใครตอบได้   จึงต้องลงไปสำรวจพื้นที่จริง  ต้องใช้เวลาประมาณ 2 -3 สัปดาห์

จากที่ได้สอบถามเกษตรกร ความเสียหายน่าจะอยู่ที่ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์  แต่เกิดมาช่วงกลางปีที่แล้วและสะสมมาเรื่อย ๆ จำนวนแม่พันธุ์อยู่ที่  2 แสนตัวเศษ  จาก 20 เปอร์เซ็นต์ตกประมาณ  4 หมื่นตัวที่เสียหาย  แต่เสียหายหนักจริง ๆน่าจะเป็นช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ คือ  3 เดือนแรกของปีนี้ เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมนี้  และขาดหนักขึ้น ส่วนความเสียหายจะต้องดูการทดแทนขึ้นมา พอเริ่มมีการสูญเสียเมื่อกลางปีที่ผ่านมาแล้ว เกษตรกรก็รู้แล้ว ได้ชดเชย คัดเลือกหาแม่พันธุ์มาเลี้ยงใหม่  ต้องใช้เวลาอีก 3-4 เดือนกว่าจะพร้อมที่จะมาขยายพันธุ์ต่อ  อีก 5 เดือน ลูกหมูเข้าสู่ระบบตลาด ได้  อย่างช้าสุดน่าจะเกินกลางปีไปแล้ว จำนวนสุกรก็จะมีตัวเลขที่อัพขึ้น เพื่อที่ให้เพียงพอต่อการบริโภค  จึงต้องให้เลยช่วงเดือนกรกฎาคมไปก่อน  ผลผลิตชุดใหม่จะเริ่มออกมาทดแทน

ส่วนต้นทุนการผลิตหมูนั้น  ลูกสุกรตอนนี้ราคาขายประมาณ 3,200 บาท ต่อ  16 กิโลกรัม แต่หากเกินกว่านั้นจะมีการบวกเพิ่มตามที่ซื้อขายกัน  ต้นทุนที่จะคือ  วัตถุดิบ  อาหารที่เลี้ยงหมู    เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวโพด แพงมาก เนื่องด้วยสภาวะอากาศ รวมทั้งแร่ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาผสมขึ้นราคาไม่ต่ำกว่า 40-50 เปอร์เซ็นต์  นำมาให้หมูกินเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ประกอบกับระบบการจัดการการควบคุม มีทั้งเรื่องปัญหาโควิด -19 มีผลกระทบกับการเลี้ยงหมูสูงมาก เพราะห้ามไม่ให้คนเลี้ยงออกจากฟาร์มเลย

คาดว่าสถานการณ์หมูคงอยู่ที่เราตั้งราคาไว้กลางเดือนกรกฎาคมไปแล้ว ประมาณกิโลกรัม 80 บาทหมูตัวเป็น  ส่วนที่เขียงตลาดจะอยู่ประมาณ 150-160  บาท   จะทำให้สถานการณ์ราคาหมูดีขึ้น


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า