สุโขทัย เตรียมพร้อมรับน้ำเหนือจากจังหวัดแพร่

วันที่ 24 ส.ค.65 ที่บริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ หมู่ 9 ต.ในเมือง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นจุดแรกที่รับน้ำเหนือจากทางจังหวัดแพร่ที่จะไหลลงแม่น้ำยมและไหลลงสู่จังหวัดสุโขทัย  โดยวันนี้(24 ส.ค.65) น้ำในน้ำยมจากจังหวัดแพร่ จะไหลเข้าสู่  อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ที่จุดวัดน้ำ y37 จะมีปริมาณน้ำไหลผ่าน ณ จุดนี้จำนวน 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และจะไหลลงสู่เข้าจังหวัดสุโขทัย ในช่วงค่ำนี้เวลาประมาณ 3 ทุ่ม

ล่าสุดมวลน้ำในแม่น้ำยม จากจังหวัดแพร่เริ่มไหลมาถึงบริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย  ตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมา(23 ส.ค.65) จึงทำให้บริเวณด้านหน้าของประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น วัดปริมาณน้ำที่บริเวณหน้าประตูอยู่ที่ 62.07 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จึงทำให้เจ้าหน้าที่ต้องยกบานประตู จำนวน 4 บาน จากทั้งหมด 5 บาน สูง 2.50 เมตร ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 407.00 ลบ.ม./วินาที เพื่อระบายน้ำจากทางด้านหน้าประตูลงด้านท้ายประตู ล่าสุดวัดปริมาณน้ำที่บริเวณท้ายประตูอยู่ที่ 58.39 เมตร ความลึก 9.57 เมตร ทำให้ระดับน้ำในบริเวณดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยมแต่อย่างใด และมวลน้ำดังกล่าวจะไหลไหลผ่านตัว อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง อ.เมืองสุโขทัย และ อ.กงไกรลาศ

ในส่วนของการเตรียมการรับมือกับปริมาณน้ำที่ไหลลงมาจากจังหวัดแพร่ นั้นนายโสภัญญ์ ศรีสว่างวรกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสุโขทัย กล่าวว่าจากการที่มีฝนตกจำนวนมากในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ทำให้มีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากที่จะต้องไหลหลากลงมาสู่จังหวัดสุโขทัยโดยจะมีมวลน้ำประมาณ 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะมาถึงสุโขทัยในคืนนี้(วันที่ 24 ส.ค.65) โดยทางชลประทานสุโขทัยได้มีการบริหารจัดการน้ำก่อนที่จะไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัย มีการวางแผนระบายน้ำยมผ่านประตูระบายน้ำหาดสะพานจันทร์ หรือแม่น้ำยมเส้นหลักจำนวน 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนที่เหลือจะระบายผ่านแม่น้ำยมฝั่งซ้ายหรือประตูระบายน้ำคลองหกบาทประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทั้งนี้ในระหว่างลำน้ำยมจตั้งแต่ท้ายประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ลงมาถึง อ.เมืองสุโขทัย ยังมีคลองก้างปลาช่วยระบายน้ำในกรณีที่มีมวลน้ำมากกว่าที่คาดการไว้หรือเกิดฝนตกหนักได้ ซึ่งการบริหารจัดการมวลน้ำในครั้งนี้ทางชลประทานมั่นใจ 100 เปอร์เซ็นต์ ว่าจะสามารถป้องกันการเกิดเหตุอุทกภัย ในจังหวัด ในครั้งนี้ และไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจในเขตตัวเมืองสุโขทัย อย่างแน่นอน

ชลประทานสุโขทัย ได้มีการเตรียมการรับมือก่อนน้ำมาไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว โดยการพร่องน้ำบริเวณด้านหน้าประตูระบายน้ำแม่น้ำยมให้ลดต่ำลง เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำจากตอนบน และการผันน้ำเข้าคลองหกบาทจำนวน 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พร้อมกับควบคุมปริมาณน้ำให้ไหลผ่านประตูระบายน้ำแม่น้ำยม ให้อยู่ในเกณฑ์ประมาณ 550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามความจุของลำน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัย เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจในเขตตัวเมืองสุโขทัย

ฤดี ธนวณิชย์วรชัย จังหวัดสุโขทัย


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า