เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังเตรียมรับน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังเตรียมพร้อมรับการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

วันที่ 17 ส.ค.65 จากกรณีที่ ทาง โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีหนังสือ ด่วนที่สุด ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เรื่องการแจ้งเตือนประชาชนเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยมีข้อความว่า ตามที่มีฝนตกหนักในพื้นที่เหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการควบคุมระดับน้ำและปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ จะเพิ่มการระบายน้ำโดยทยอยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จากอัตรา ๑๖๐ ลูกบาศก์เมตร/วินาที ดังนี้

วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา 0๖.00 น. เป็นต้นไป จนถึงอัตรา ๒00 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา 0๖.00 น. เป็นต้นไป จนถึงอัตรา ๒๔0 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

วันที่ ๒0 สิงหาคม ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา 0๖.00 น. เป็นต้นไป จนถึงอัตรา ๒๘๐ ลูกบาศก์เมตร/วินาที

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อทรัพย์สินของประชาชนจากการที่ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 0.๙0 – ๒.00 เมตร (จากปัจจุบัน เวลา 0๖.00 น. ของวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕)โดยระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นยังอยู่ในลำน้ำ ไม่เกิดสภาวะน้ำลันตลิ่งแม่น้ำป่าสัก ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ขอแจ้งเตือน ๓ จังหวัดด้านท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกาศประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน ที่ประกอบกิจการในแม่น้าป่าสัก อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก จึงใครขอให้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ทราบ และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไป

ทางด้าน นาย พงษ์ศักดิ์ ชาลี อายุ 53 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง เลขที่ 57/5 ม.8 ต.บ้านป่า อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เผยว่า ตนเองเลี้ยงปลากระชัง ตามลำน้ำป่าสัก 66 กระชัง ประกอบด้วยปลาทับทิม ปลานิล และปลาดุก ซึ่งในด้านการเตรียมความพร้อมนั้นตนเองได้รับข้อมูลข่าวสารการปล่อยน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังในพื้นที่ จ.สระบุรี ซึ่งทุกๆปีก็จะดูเรื่องของเชือกที่จะรั้งกระชังไว้ ในช่วงฤดูฝน ก่อนที่น้ำจะมา และจะนำถุงทรายลงในกระชังเพื่อไม่ให้กระชังปลิว และมีไม้ไผ่กั้นไว้ในเวลาให้อาหารปลา เพื่อไม่ให้อาหารออกเร็ว โดยให้อาหารบางๆ ไม่ให้เยอะเหมือนปกติ เตรียมดึงกระชังเข้าตามที่ทางเขื่อนแจ้งมาว่าจะปล่อยน้ำมาปริมาณขนาดไหน ซึ่งจะเตรียมความพร้อมไว้ทุกๆปี และมีลอก เชือกเอาไว้ดึงกระชังปลา พร้อมไว้หมดแล้ว ซึ่งถ้าน้ำมาเยอะผลกระทบที่จะได้รับก็จะมีเพียงกระชังด้านนอก ประมาณ 2-3 กระชัง ที่จะโดนน้ำเชี่ยว น้ำแรง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ หน้าฝน หน้าน้ำ ของทุกๆปีถ้าน้ำมาเยอะ ในเรื่องความเสียหายถือว่ามีบ้างเป็นเรื่องปกติ ซึ่งปลาในกระชังจะมีปลาอยู่ 50 กว่ากระชัง และจะมีกระชังว่างไว้ลงปลาใหม่

ซึ่งในแต่ละปีตนเองก็ยังคาดเดาไม่ออกว่า จะมีปริมาณน้ำมากน้อย เท่าไรที่ผ่านมาตนเองพยายามติดตามข่าวสารทางเขื่อน และส่วนราชการอยู่ตลอด เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อม ซึ่ง 2-3 ปีที่ผ่านมาน้ำก็ไม่มาคือฝนน้อย บางทีพายุมาลูก 2 ลูกก็หายไปแล้ว ซึ่งในปีนี้ตนเองคาดว่า ช่วงปลายฤดู น้ำในเขื่อนก็ยังไม่มากเท่าไร ซึ่งตนดูตามข้อมูลแล้วมีเพียง 49 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็ยังไม่ถึงครึ่ง ช่วงที่เขื่อนปล่อยน้ำมาช่วงนี้น้ำขึ้นมาประมาณ  1.80 เมตร ยังไม่มีผลกระทบอะไร ตนเองก็มีความพร้อมอยู่แล้ว ช่วงที่น้ำมากที่สุดก็จะสูงถึง 10 เมตรตนเองก็ไม่ได้รับความเสียหายอะไรมากนัก เนื่องจากกระชังของตนเองสามารถดึงเข้ามาได้เรื่อยๆ ตนเองคิดว่าในปีนี้สามารถรับมือกับน้ำที่เขื่อนปล่อยมาได้ ระดับของสีน้ำก็จะขุนมากกว่าหน้าแล้งหน่อย เนื่องจากน้ำมาจากเทือกเขาและลำคลอง เป็นน้ำฝนที่ชะหน้าดินลงมาสู่แม่น้ำทำให้น้ำในแม่น้ำขุน ทำให้ปลาไม่กินอาหาร 1-2 วันแต่ไม่มีผลต่อการเป็นโรค เนื่องจากน้ำมีการถ่ายเทดี

ส่วนชาวบ้านที่อาศัยอยู่แนวริมตลิ่งแม่น้ำป่าสัก เผยว่า ตอนนี้ก็เฝ้าระวังคอยดูระดับน้ำในแม่น้ำป่าสัก ว่าจากการปล่อยน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระดับน้ำสูงขึ้นเท่าไร เพื่อที่จะหาแนวทางป้องกัน ซึ่งคาดว่าปีนี้ระดับน้ำคงจะไม่ท่วมเหมือนปีที่ผ่านมา

ชาญวิทย์ คำนวนวุฒิ จังหวัดสระบุรี


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า