“บิ๊กโจ๊ก” สอบผู้ต้องหา “คดีรังนก” เพิ่มอีก 8 ราย สรุปเป็นพลเรือนกับเจ้าหน้าที่รัฐ รวม 21 ราย

 

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร.เปิดเผยว่าตามที่ได้มีการร้องเรียนเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อมวลชน กรณี บริษัท สยามเนสท์ 2022 จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานรังนกอีแอ่นบริเวณ หมู่เกาะสี่เกาะห้า อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ร้องเรียนว่าหลังจากเข้ารับมอบพื้นที่สัมปทานเก็บรังนกช่วงต้นเดือน กันยายน 2564 แล้วพบว่ามีการลักลอบเข้าไปเก็บรังนกบริเวณดังกล่าว ทำให้ลูกนกตายจำนวนมากสร้างความเสียหายต่อบริษัทผู้รับสัมปทาน เป็นจำนวนเงินมูลค่าหลายพันล้านบาท นั้นทาง พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.สุซาติ ธีระสวัสดิ์ รอง ผบ.ตร. ได้สั่งการให้เร่งรัดติดตามคดีดังกล่าว

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า วันนี้ตนลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าเร่งรัดการสืบสวนสอบสวนกรณีดังกล่าว โดยสั่งการพล.ต.ท.นันทเดซ ย้อยนวล ผบซ.ภ.9, พล.ต.ต.กฤษฎา แก้วจันดี รอง ผบข.ภ.9., พล.ต.ต.วัลลพ จำนงค์อาษา รอง ผบช.ภ.9,พล.ต.ต.ตานิตย์ รามดิษฐ์ ผบก.ภ.จว.พัทลุง ลงไปเร่งรัดสืบสวนพบว่า มีกลุ่มคนร้ายลักลอบเข้าไปเก็บรังนกในพื้นที่สัมปทานหมู่เกาะสี่เกาะห้า ระหว่างวันที่ 14 มิ.ย.- 9 ก.ย.64 จริง ตามข้อร้องเรียน จึงได้สืบสวนหาตัวคนร้ายที่ลักลอบเข้าไปเก็บรังนก จนมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีผู้กระทำความผิด จำนวนทั้งสิ้น 3 คดี  คือ

1.คดีอาญาที่ 77/2564 ลงวันที่ 2 ก.ค.2564 ผู้ต้องหา จำนวน 6 คน แบ่งเป็น  พลเรือน จำนวน 4 คนเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 2 คนโดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการติดตามจับกุมได้แล้วทั้งหมด จำนวน 6 คน ความผิดฐาน “ร่วมกันเก็บรังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะหรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยไม่ได้รับสัมปทานจากคณะกรรมการ, ร่วมกันเข้าไปกระทำการใดๆ บนเกาะ หรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่มีรังนกอยู่ตามธรรมชาติ อันเป็นหรืออาจเป็นอันตรายแก่นกอีแอ่น ไข่ของนกอีแอ่น หรือรังนก หรืออาจเป็นเหตุให้นกอีแอ่นละที่อยู่อาศัยไปจากเกาะหรือที่สาธารณสมบัติแผ่นดินดังกล่าว(ตาม พ.ร.บ.รังนกอีแอ่น พ.ศ.2540 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง , 25, 28) , ร่วมกันเก็บ ทำอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง, ล่าสัตว์ป่า หรือเก็บ หรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่านั้น ในพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครอง    สัตว์ป่า พ.ศ.2562 มาตรา 14 วรรคสอง , 67 (1)”และความผิดฐาน”เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ (ตาม ป.อาญา มาตรา 149 และ 157 ) หัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ตามคำสั่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 539/2564 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2564

สำหรับ คดีดังกล่าวได้มีความเห็น ควรสั่งฟ้องผู้ต้องหา ทั้ง 6 คน  ส่งไปยัง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 ภาค 9 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 และได้ยื่นฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 6 คน ต่อ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 9 ตามคดีหมายเลขดำที่ อท.101/2564 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2564

2.คดีอาญาที่ 107/2564 ลงวันที่ 19 ต.ค.2564 ช่วงเริ่มคดี มี ผู้ต้องหา จำนวน 13 คน แบ่งเป็น   พลเรือนจำนวน 11 คนเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน  2 คนจากการสืบสวนสอบสวน พบว่า มีกลุ่มคนร้ายอีกจำนวนหลายคนได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วน ร่วมกันขึ้นไปลักเอารังนกยังหมู่เกาะ  รังนก เกาะสี่ เกาะห้า อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้ร่วมกันทำการสืบสวนสอบสวนจนทราบตัวคนร้าย อีกจำนวนทั้งสิ้น 11 ราย จนมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีผู้กระทำความผิด โดยขออนุมัติศาลจังหวัดพัทลุง ออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีที่สอง จำนวน 11 คน และแจ้งข้อกล่าวหา จำนวน 1 คน รวมผู้ต้องหา ทั้งสิ้น จำนวน 12 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำเนินการติดตามจับกุมแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว 11 คน ยังหลบหนีอีก 1 คน คือ นายสุธรรม  ขุนล่ำ อยู่บ้านเลขที่ 7/8 ม.6 ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หมายจับศาลจังหวัดพัทลุง ที่ จ.365/64ผู้ต้องหา จำนวน 4 คน ให้การรับสารภาพ ประกอบกับมีของกลาง รังนก ที่ยึดได้จากกลุ่มผู้ต้องหา ได้รับผลการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ จาก กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธ์พืช ยืนยันว่า รังนก ของกลาง เมื่อตรวจเปรียบเทียบกับเศษหินเศษดินในถ้ำรังนกที่เกิดเหตุ พบว่า เป็นรังนกที่นำมาจากถ้ำรังนกที่เกิดเหตุจริง สอดคล้องกับคำให้การผู้ต้องหา

คณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ได้ทำการสอบสวนดำเนินคดีกับ ผู้ต้องหาในความผิดความผิดฐาน “ร่วมกันเก็บรังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะหรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ได้รับสัมปทานจากคณะกรรมการ, ร่วมกันเข้าไปกระทำการใดๆ บนเกาะ หรือในที่      สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่มีรังนกอยู่ตามธรรมชาติ อันเป็นหรืออาจเป็นอันตรายแก่นกอีแอ่น ไข่ของนกอีแอ่น หรือรังนก หรืออาจเป็นเหตุให้นกอีแอ่นละที่อยู่อาศัยไปจากเกาะหรือที่สาธารณสมบัติแผ่นดินดังกล่าว (ตาม พ.ร.บ.รังนกอีแอ่น พ.ศ.2549 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง , 25, 28 ) , ร่วมกัน เก็บ ทำอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง, ล่าสัตว์ป่า หรือเก็บ หรือทำอันตรายแก่  รังของสัตว์ป่านั้น ในพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 มาตรา 14 วรรคสอง , 67 (1)”  และความผิดฐาน”เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่   โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ (ตาม ป.อาญา มาตรา 149 และ 157 ) ซึ่งการสืบสวนสอบสวนต่อมา ได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาอีก จำนวน 8 คน เป็นพลเรือน 7 คน เจ้าหน้าที่รัฐ (เจ้าหน้าที่ป่าไม้) จำนวน 1 คน ให้มาพบ คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนในวันจันทร์ที่ 24 มกราคม 2565 เวลา 10.00 น. กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง สรุปในคดีที่สอง มี ผู้ต้องหาจำนวน 21 คนแบ่งเป็น  พลเรือนจำนวน 18 คนเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน  3 คน

3.คดีอาญาที่ 118/2564 ลงวันที่ 29 ต.ค.2564 ผู้ต้องหา จำนวน 20 คน แบ่งเป็นพลเรือนจำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 19 คน จากการสืบสวนต่อมาพบว่า มีกลุ่มคนร้ายอีกจำนวนหลายคนได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมกันกระทำผิดเกี่ยวกับการลักเอารังนก หมู่เกาะรังนก เกาะสี่ เกาะห้า อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้ร่วมกันทำการสืบสวนสอบสวนจนทราบตัวผู้กระทำผิด อีกจำนวนทั้งสิ้น 20 ราย

โดยขออนุมัติศาลจังหวัดพัทลุง ออกหมายจับผู้ต้องหา ศาลจังหวัดพัทลุงพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ต้องหาเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการ กระทำผิดร่วมกับประชาชน ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน ไม่ปรากฏพฤติการณ์หลบหนีเชื่อว่าหากพนักงานสอบสวนออกหมายเรียก ผู้ต้องหาจะมาพบตามหมายเรียกจึงเห็นควรให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้ต้องหาเสียก่อน ต่อมาผู้ต้องหาได้เข้าพบพนักงานสอบสวน และได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบ ทำการสอบสวนปากคำไว้แล้ว

สรุป มีผู้ต้องหาทั้งหมด 47  ราย ผู้ต้องหา 44 คน (บางคนถูกดำเนินคดี 2 คดี) แยกเป็น 1.เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง จำนวน 4 คน  2.เจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดน จำนวน 8 คน  3.ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน 4.เจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 7 คน 5.พลเรือน จำนวน 24 คน

ซึ่งทางคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 539/2564 ลงวันที่ 29 ต.ค.2564 จะได้เร่งรัดทำการสืบสวนสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง เพื่อพิสูจน์ความผิด หรือความบริสุทธิ์ ของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือเครือข่าย ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยมีตนเป็นหัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน และรายงานผลการดำเนินการให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทราบต่อไป “ผู้ช่วย ผบ.ตร.กล่าว”

 


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า