หนึ่งเดียวในโลกเมืองช้าง แห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง

หนึ่งเดียวในโลก “เมืองช้าง” จ. สุรินทร์ มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง จ.สุรินทร์ประจำปี 2565 หนึ่งเดียวในโลก

วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานมาว่า ณ ที่บริเวณถนนด้านพน้าอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ศรีณรงค์จางวาง นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลบ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดงาน “แห่เทียนพรรษา” ประจะปี 2565  โดยมี นายสมเมือง ตัณฑเลขา รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสุรินทร์ กล่าวรายงานถึงการจัดงานมหกรรมแห่เทียนพรรษา และตักบาตรบนหลังช้าง จ.สุรินทร์ ประจำปี 2565  เพื่อสืบสานประเพณีของจังหวัดสุรินทร์ และการท่องเที่ยว มีคุ้มวัดจำนวน 11 คุ้มวัดส่งต้นเทียนเข้าประกวด และขบวนแห่ต้นเทียน ที่มีสัสัน ความสวยงามหลากหลาย ก่อนเปิดงานแห่เทียนพรรษา ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้มอบเงินรางวัลให้กับผู้ส่งต้นเทียนเข้าประกวด รองชยะเลิศที่ 2-3 และรางวัลผู้ชนะเลิศ พร้แมกับกล่าวเปิดงาน และเปิดกิจกรรมแห่เทียนพรรษา

งานมหกรรมแห่เทียนพรรษา และตักบาตรบนหลังช้าง จังหวัดสุรินทร์ ประจำปี 2565 ขึ้น ระหว่างวันที่ 12-13 ก.ค. 2565 ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง   ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์  เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของ        จ.สุรินทร์ และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวชาวไทย  รวมทั้งชาวต่างประเทศได้ทราบ ที่มี หน่วยงานต่างๆร่วมดำเนินการ เช่น พิธี แห่เทียนพรรษา พิธีตักบาตรบนหลังช้าง การจัดอัฒจันทร์สำหรับประชาชนได้ใส่บาตรบนหลังช่างในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 13 กรกฎาคม 2565)  เวลา 01.00 น. ณ อนุสาวรีย์พยาสุรินทร์ศรีณรงค์ขางวาง

“มหกรรมแห่เทียนพรรษา” และ “ตักบาตรบนหลังช้าง”จ.สุรินทร์ ประจำปี 2565  ขบวนแห่เทียนพรรษาของเทศบาลเมืองสุรินทร์ และขบวนช้างของ องค์การบริหารส่วน จ.สุรินทร์ ได้เคลื่อนขบวน ออกจากบริเวณหน้าอนุสาวรียะระนาสุรินทร์ศรีณรงค์จางวาง ไปตามถนนธนสาร เข้าไปยังถนนสนิทนิคมรัฐ มีประชาชนและนักท่องเที่ยวมาร่วมดูขบวนแห่เป็นจำนวนมาก

ในวันพรุ่งนี้ (วันพุธที่ 13 ก.ค. 2565)   เวลา 07.00 น.  กิจกรรมตักบาตรบนหลังช้าง ณ บริเวณ อนุสาวรีย์ พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง  การ “ตักบาตรบนหลังช้าง”  ของ จ.สุรินทร์ ซึ่งถือว่าเป็น “หนึ่งเดียวในโลก” โดยพระสงฆ์ และสามเณร ได้ขึ้นนั่งบนหลังช้าง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งได้ทำบุญใส่บาตร ข้าวสาร อาหารแห้ง  โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ ต่างตื่นตาตื่นใจกับการได้ทำบุญ  และได้บริจาคเงินทำบุญกับช้างซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ใหญ่ และ สัตว์มงคล ที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาช้านานด้วย โดยพุทธศาสนิกชนที่มาใส่บาตร จะแต่งกายด้วยชุดผ้าไหม หรือแต่งกายชุดผ้าพื้นเมืองของ จ.สุรินทร์พากันตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่ตนเองและครอบครัว ที่รับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาด้วย

นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางท่องเที่ยว ไปยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง เช่น หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองโบราณ ที่บ้านท่าสว่าง  อ.เมือง  เรียนรู้ภูมิปัญญาการย้อมสีผ้าไหมจากธรรมชาติของชาวสุรินทร์  และตื่นตาไปกับศิลปะการถักทอเส้นไหมอันสลับซ้อนดิ้นทองผสมผสานลายราชสำนักโบราณ  จำนวน 1,416 ตะกอ, หมู่บ้านช้าง อ.ท่าตูม เรียนรู้วิถีชีวิตชาว “กวย” หรือ “ กูย”  ความสัมผัสความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ที่เลี้ยงช้างเป็นเสมือนดั่งสมาชิกในครอบครัว  มากกว่าการเลี้ยงมุ่งเน้นการเลี้ยงช้างไปเพื่อการงานหรือธุรกิจ ปราสาทศีขรภูมิ  อ.ศีขรภูมิ  ชมภาพสลักนางอัปสราหินทรายที่สวยและสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย, หมู่บ้านเครื่องเงิน ที่ อ.เขวาสินรินทร์, และ กราบไหว้ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สถิตอยู่บนเขาพนมสวาย ค.นาบัว อ.เมือง ต.สุรินทร์

ภาพ/ข่าว: เขมชาติ ชุณหกิจขจร / รมิตา สิงหเสรี/ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า