รพ.ดังเเจงเหตุ”เด็กน้อยแขนหัก ‘แต่ไม่ฟันชัด ยันพร้อมเยียวยา

วันนี้ 8 มิ.ย.65 ที่ห้องประชุมชั้น 6 อาคารบ้านคุณพุ่ม โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ตนายแพทย์วีระศักดิ์ หล่อทองคำ ผู้อำนวยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต พร้อมผู้บริหารและแพทย์ผู้ทำการรักษา เด็กทารก ซึ่งกระดูกแขนซ้ายหักระหว่างนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลฯ ได้ร่วมกันแถลงแสดงความเสียใจ และขออภัยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยทางโรงพยาบาลได้มีการทบทวนเหตุการณ์เบื้องต้น และจะมีการตั้งกรรมการสืบหาข้อเท็จจริง เพื่อนำมาพัฒนาระบบการดูแลรักษาให้มีคุณภาพและเกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วย และส่งข้อมูลไปยังกองพิสูจน์หลักฐานเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ตลอดจนได้ชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนการรักษา โดยมีนางอัจฉรา จันทราช อายุ30ปี แม่และพ่อของเด็กทารก รวมทั้งญาติๆ มาร่วมรับฟังด้วย

โดยแม่และพ่อของทารก ได้มีการซักถามและขอทราบทราบสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ลูกแขนหัก เพราะตอนที่คลอดออกมาทุกอย่างปกติ และไม่มีอาการใดๆ  รวมทั้งยังมีการขอดูกล้องวงจรปิดในห้องดูแลเด็กทารกด้วย  ซึ่งทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ โดยระบุว่า อยู่ระหว่างการตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง ส่วนของกล้องวงจรปิดในห้องดังกล่าวนั้น  ไม่มีการบันทึกไว้ เป็นการติดตั้งไว้ในช่วงโควิด-19  เพื่อดูความเคลื่อนไหวในลักษณะเรียลไทม์  ซึ่งทางโรงพยาบาลยืนยันว่าจะดูแลรักษาทารกคนดังกล่าวจนกว่าจะหายเป็นปกติ นอกจากนี้ในส่วนของการเยียวยานั้นจะเชิญตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตมาร่วมเป็นกรรมการในการพิจารณาเยียวยาช่วยเหลือตามมาตรการ 41 ด้วย

อย่างไรก็ตามได้ได้มีการชี้แจงรายละเอียดของการรักษา โดยระบุว่าตามที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ได้รับ ด.ญ. HN 1407243 เข้ารักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดด้วยเรื่องสำลักขี้เทาหายใจเหนื่อย และมีภาวะพร่องออกซิเจน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 โดยได้รับการรักษาด้วยการให้ออกซิเจน สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และยาปฎิชีวนะ  ทารกสามารถเคลื่อนไหวแขนขาสองข้างได้ตามปกติ แขนขาไม่ผิดรูป

ในส่วนของเหตุการณ์โดยสังเขปในวันก่อนและหลังเกิดเหตุ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 เวลา 21.00 น. เจ้าหน้าที่ชั่งน้ำหนักทารก ยังพบว่าสามารถขยับแขนขาทั้งสองข้างได้ตามปกติ หลังจากนั้น เวลา 22.00 น. มีการวัดสัญญาณชีพ ระดับออกชิเจน และ ให้นมตามเวลา พบว่าทารกดิ้น จึงห่อตัวทารกแบบตรึง 3 ตำแหน่งไว้ (แขน ลำตัว และ ขา) ต่อมาวันที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 02.00 น. เจ้าหน้าที่คลายผ้าห่อตัว เปลี่ยนเป็นห่อด้วยผ้าผืนเดียว วัดสัญญาณชีพ ให้นมทารก โดยไม่ได้ประเมินการเคลื่อนไหว เนื่องจากทารกหลับ เวลา 06.00 น. วัดสัญญาณชีพ และให้นมทารก โดยไม่ได้ประเมินการเคลื่อนไหว เนื่องจากทารกหลับ จากนั้นเวลา 09.00 น. เจ้าหน้าที่จะอาบน้ำให้ทารก พบว่าทารกไม่ขยับแขนข้างซ้าย และแขนซ้ายอยู่ในท่าศอกเหยียดต้นแขนบิดเข้าหาแนบกับลำตัว จึงได้ปรึกษากุมารแพทย์ประเมินและตรวจร่างกาย ไม่พบรอยฟกช้ำเขียว หรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของเด็ก หรือบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย จึงได้ปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ มาตรวจดูอาการและให้ถ่ายภาพรังสีแขนซ้าย พบว่ากระดูกต้นแขนซ้ายหัก แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ได้รักษาโดยยึดตรึงแขนซ้ายไว้

ทั้งนี้ได้มีการสรุปเหตุการณ์เบื้องต้นว่า เนื่องจากไม่พบร่องรอยฟกช้ำ หรือบาดแผลภายนอก จึงสันนิฐานว่า สาเหตุที่ทำให้กระดูกแขนซ้ายของทารกหักมาจากการที่ห่อตรึงไว้ โดยเฉพาะบริเวณแขนที่บิดหมุนแนบลำตัวค่อนไปทางด้านหลัง และมีแรงกระแทกบริเวณศอกจากการยก-วางทารก  ส่วนของแนวทางการรักษากระดูกต้นแขนซ้ายหัก ทางแพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อได้ให้การรักษาด้วยวิธีการที่ทำให้ทารกสบายตัวมากที่สุด โดยแพทย์ใช้วิธีการใช้ผ้าดามยึดแขนที่หักไว้กับลำตัวเด็กเป็นเวลา 2 – 3 สัปดาห์ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าเฝือก หรือผ่าตัด เนื่องจากกระดูกของทารกจะมีการเชื่อมประสานกันเอง และจะนัดติดตามอาการหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า