ลุ้นปางช้างแม่สา จะอยู่ต่อหรือปิดกิจการปมขัดแย้งมรดก 1,000 ล้าน

ปมขัดแย้งมรดก 1,000 ล้านบาทส่งผลกระทบต่อกิจการปางช้างแม่สา จะอยู่ต่อหรือปิดกิจการลง 30 สิงหาคม 2565 นี้ มีลุ้นยาว

กลายเป็นข่าวโด่งดังที่สังคมคนเชียงใหม่ ให้ความสนใจกันเป็นอันมาก จากกกรณีความจัดแย้งในเรื่องการจัดการมรดกของ นายชูชาติ กัลมาพิจิตรหรือพ่อเลี้ยงชูชาติ ผู้ก่อตั้งปางช้างแม่สา ซึ่งได้เสียชีวิตลงเมื่อต้นปี 2562 และทิ้งสมบัติไว้ให้ทายาทมีมูลค่านับพันล้านบาท แต่ติดปัญหาในการจัดการมรดก เพราะมีผู้จัดการร่วมจำนวน 2 ราย คือนางอัญชลี กัลมาพิจิตร บุตรสาวคนโต และนางฐิติรัตน์ กัลมาพิจิตร ภรรยาใหม่ นายชูฌชาติ ฯ  ซึ่งยังไม่สามารถตกลงกันได้ ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น

ล่าสุดเมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 23 ส.ค.65ณ ห้องทับทิม   โรงแรมฟูรามา  เชียงใหม่ นายอัคคพาคย์ อินทรประพงศ์  และนายพิมลศักดิ์ วรรณประภา ทนายความฝ่ายนางฐิติรัตน์ กัลมาพิจิตร  ได้ร่วมกันชี้แจงต่อสื่อมวลชนถึงการจัดประชุมทายาทมรดก นายชูชาต  กัลมาพิจิตร  พ่อเลี้ยงปางช้างแม่สา รวมทั้งแถลงชี้แจง กรณีพินัยกรรมและการจัดการมรดกต่อสื่อมวลชน โดยการประชุมไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากทางนางอัญชลี กัลมาพจิตร มีความต้องการให้มีการประชุมตกลงกันในระหว่างทายาท และผู้จัดการมรดกโดยไม่มีทนายความเข้ามาร่วมประชุม  แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ นางอัญชลี จึงเดินทางกลับ และต่อมาทางทนายความฝ่ายนางฐิติรัตน์ กัลมาพิจิตร ได้ชี้แจงข่าวและตอบคำถามสื่อมวลชน ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 นางอัญชลี กัลมพิจิตรผู้บริหารปางช้างแม่สา บุตรสาวคนโตของนายชูชาติ กัลมาพิจิตร กล่าวว่า หลังจากคุณพ่อนายชูชาติ กัลมาพิจิตร ได้เสียชีวิตลงเมื่อปี 2562 ทำให้ปางช้างแม่สา ได้รับผลกระทบเป็นอันมาก ส่งผลถึงความล่าช้าให้กับการจัดการทรัพย์สิน ยืดยาวมาจนถึงปี 2565 กระทบหนักกับการจัดการบริหารงาน การเลี้ยงดูช้างจำนวน 68 เชือกและพนักงานปางช้างอีกกว่า 100 คน จึงทำให้นางอัญชลี กัลมาพิจิตร ต้องออกหนังสือนัดนางฐิติรัตน์ ไปทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกร่วมให้แก่ทายาทตามกฏหมาย อีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 ในวันที่ 30 สิงหาคม 2565 นี้ ในเวลา 10.00 น. ที่ธนาคารฯ  สาเหตุสำคัญเกิดจากความล่าช้าของคดีผู้จัดการมรดก จึงไม่สามารถใช้ทรัพย์มรดกของนายชูชาติในกิจการได้ จนปัจจุบันศาลได้มีคำสั่งให้มีการจัดการทรัพย์สินตามกฏหมายแล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565

โดยเรื่องดังกล่าวศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดแล้ว และมีคำสั่งให้ทั้งนางอัญชลีและนางฐิติรัตน์เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันทั้งสองคน โดยนางอัญชลีพยายามจะนัดให้ผู้จัดการมรดกร่วมมาโอนเงินในบัญชีธนาคารให้แก่บริษัท ปางช้างแม่สา จำกัด ตามพินัยกรรมของนายชูชาติผู้บิดาที่ได้มอบให้บริษัทฯนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และยังได้นัดโอนช้างทั้งหมดที่ยังเป็นชื่อของนายชูชาติอยู่ให้แก่บริษัท ปางช้างแม่สา จำกัดอีกด้วย แต่นางฐิติรัตน์ไม่ยอมทำหน้าที่ แม้จะนัดกันสองครั้งแล้วก็ยังปฏิเสธที่จะมา โดยอ้างว่าจะต้องแบ่งสินสมรสเสียก่อน จึงจะโอนทรัพย์สินอื่นได้

อนึ่งปางช้างแม่สาเป็นปางช้างขนาดใหญ่ที่เผชิญกับวิกฤตการณ์โควิด-19 มาตั้งแต่ต้นปี 2563 และต้องแบกภาระหนี้สินไว้เป็นจำนวนมาก ต้องใช้เงินประคับประคองกิจการเดือนละ 2.5 – 3 ล้านบาท “ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ปางช้างติดลบไปร่วม 80 ล้านบาทแล้ว ตอนนี้เราไม่มีเงินพอที่จะใช้จ่ายอีกแล้ว ถ้าวันที่ 30 สิงหาคมนี้ นางฐิติรัตน์ไม่มาเซ็นร่วมกันในการโอนเงินจำนวนประมาณ 15 ล้านบาทให้แก่ปางช้างแม่สา ปางช้างแม่สาก็จะต้องปิดกิจการลงอย่างแน่นอน

ดังนั้นวันที่ 30 สิงหาคมนี้ คงจะเป็นวันที่ชี้ชะตาช้างและพนักงานของปางช้างแม่สา ว่าจะสามารถอยู่ต่อหรือปิดกิจการลง ขึ้นอยู่กับนางฐิติรัตน์เพียงคนเดียว ส่วนตนยังคิดอะไรไม่ออก การที่ตนอดทนรอมานานเกือบ 4 ปี จนถึงวันที่คดีสิ้นสุดลง  และปางช้างแม่สาจะไปรอดหรือไม่ จะปิดกิจกรรมลงหรือไม่ คงมีคำตอบในไม่ช้านี้  นางอัญชลีกล่าวปิดท้ายในที่สุด.

นิวัตร  ธาตุอินจันทร์ เชียงใหม่


Scroll to Top

แฉข่าวเด่น ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า