เวลา 13.00 น. วันที่ 30 พ.ย.64 ที่ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ชั้น 6 อาคารบี ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ นางจิตรณวัชรี พะนัด (ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย )พร้อมพวกซึ่งเป็นอดีตพนักงานจากบริษัทบริลเลียนท์ อัลไลแอนซ์ไทย โกลบอล จ.สมุทรปราการ ผู้ผลิตชุดชั้นในยี่ห้อดัง เช่น Victoria’s Secret / LBI ฯลฯ ส่งออกเอเชีย ยุโรป อเมริกา เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยมี น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นผู้รับเรื่องกรณีแรงงานของโรงงานดังกล่าวถูกดำเนินคดีภายหลังไปร่วมชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยจากการที่เจ้าของโรงงานลอยแพลูกจ้างเลิกกิจการ บริเวณหน้าทำเนียบ เมื่อวันที่ 19 ต.ค.
โดยในวันที่ไปชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล ที่ถนนพิษณุโลก ผู้ชุมนุมต่อแถวยาวไปถึงบริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องปิดการจราจร 1 ช่องจราจร เพื่อเรียกร้องให้ รัฐบาลและกระทรวงแรงงาน นำงบกลาง มาจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ให้กับผู้ใช้แรงงานกว่า 1,300 คน จำนวน 242 ล้านบาท ทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้นำชุดชั้นในทั้งยกทรง กางเกงใน หลากสีผูกเชือกขึงเป็นราวตากผ้าโชว์ที่บริเวณหน้ารั้วทำเนียบรัฐบาลเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเดือดร้อน และใช้รถกระบะติดเครื่องขยายเสียงปราศรัยส่งเสียงดัง โดยหันลำโพงเข้ามาทางทำเนียบรัฐบาล รบกวนการประชุม ครม. ตลอดเวลา ขู่ว่าหากไม่ได้รับการเจรจาจนได้ข้อยุติ จะปีนรั้วทำเนียบรัฐบาล เหมือนกับที่เคยปีนรั้วกระทรวงแรงงานมาแล้ว ต่อมาวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา เวลา 11.00 น. คนงานบริลเลียนท์ ฯ ที่เป็นนักกิจกรรมด้านแรงงาน 6 คน ประกอบด้วย
- จิตรณวัชรี พะนัด (ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย )
- นายเซีย จำปาทอง (เครือข่ายแรงงานฯ)
- ธนพร วิจันทร์ (เครือข่ายแรงงานฯ)
- สุธิลา ลืนคำ (เครือข่ายแรงงานฯ)
- ธิษะณา ชุณหะวัณ (ประชาชน)
- ณวิบูล ชมพู่ (ประชาชน)
เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก สน.นางเลิ้งฐาน”ร่วมกันจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 50 คนในพื้นที่ที่มีประกาศหรือคำสั่งกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามความในมาตรา 9″พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอีนเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยฯ โดยผู้ถูกกล่าวหา ปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เมื่อ 16 พ.ย.64
ส่วนการมาร้องเรียนของลูกจ้างหญิงในวันดังกล่าวได้สวมใส่หน้ากากอนามัยกันทุกคนการชุมนุมเป็นการร้องเรียนจากการถูกละเมิดสิทธิแรงงานของนายจ้างและการชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลไม่ใช่สถานที่แออัดเป็นสถานที่โล่งโปร่งไม่มีสิ่งบดบังอากาศถ่ายเทสะดวกตลอดเวลานี่ได้ไปสถานที่แออัดอันจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคได้แต่อย่างใดและไม่ปรากฏว่าการชุมนุมที่มีผู้ที่เต็มหรือมีเหตุสงสัยว่าเป็นโควิด ทั้งในช่วงเกิดเหตุคดีนี้พื้นที่หน้าทำเนียบรัฐบาลไม่พบผู้ติดเชื้อต่อเนื่องกันมานานกว่าหกเดือนแล้วการชุมนุมเป็นไปโดยสงบเรียบร้อยดังนั้นการดำเนินคดีของพนักงานตำรวจต่อผู้ชุมนุมที่เดือดร้อนในวันที่ 19 ต.ค.จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นการใช้พอแล้วก็ฉุกเฉินมาตรา 9 เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพการเสนอข้อร้องทุกข์และการชุมนุมโดยสงบเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในการจำกัดสิทธิเสรีภาพและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่ง สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ เห็นว่าการแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน การที่ลูกจ้างถูกนายจ้างเลิกจ้างได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสอยู่แล้วและได้ยื่นหนังสือต่อรัฐบาลหลายครั้งเพื่อช่วยเหลือแต่ไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขอย่างจริงจัง ข้อเรียกร้องไม่มีความคืบหน้าใดๆ แม้เวลาผ่านมามากกว่า 8 เดือนแล้วก็ตาม เมื่อลูกจ้างไปติดตามข้อเรียกร้องเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับแจ้งข้อกล่าวหาลูกจ้างอีก
ด้าน น.ส.ศยามล กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พยามยามประสานการทำงานด้วยการติดต่อนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรี กระทรวงแรงงาน เบื้องต้นยังติดต่อไม่ได้ และติดต่อพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.นางเลิ้ง ที่ทำคดีนี้ ซึ่งจะส่งสำนวนให้อัยการ พิจารณาในวันที่ 8 ธ.ค. ทางตำรวจพนักงานสอบสวนแจ้งว่า ต้องทำตามหน้าที่ แนะนำว่าให้ติดต่อ ผกก.สน.นางเลิ้งที่จะมารับตำแหน่งวันพรุ่งนี้ ก่อนจะรับปากผู้ร้องว่าวันรุ่งขึ้นจะประสานให้อีกครั้ง